Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมหาศุภชัย ปิยธมฺมชโย (ติวาปี)
 
Counter : 19982 time
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพุทธจริยศาสตร์กับโทษประหารชีวิต (๒๕๔๕)
Researcher : พระมหาศุภชัย ปิยธมฺมชโย (ติวาปี) date : 20/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
Committee :
  พระมหาธีรพันธ์ วชิรญาโณ
  ดร.วีระชาติ นิ่มอนงค์
  นายสนิท ศรีสำแดง
Graduate : ๒ เมษายน ๒๕๔๕
 
Abstract

     วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์กับโทษประหารชีวิต การศึกษาเรื่องนี้ได้เน้นถึงบทบาทของรัฐเกี่ยวกับการลงโทษขั้นสูงสุด โดยเปรียบเทียบกับจริยศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา

     ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากหลักการปรัชญา และแนวคิดทางอาชญาวิทยา และแนวคิดทางพระพุทธศาสนาแล้วนำมาวิจารณ์สรุป ผู้วิจัยได้พบว่ามีหลายแนวคิดที่สนับสนุนและคัดค้านการลงโทษขั้นสูงสุด หรือโทษประหารชีวิต สำหรับพุทธทัศนะเกี่ยวกับการลงโทษนั้น ได้กล่าวถึงหลักการที่จะป้องกันความปลอดภัยทางสังคม โดยเน้นที่การให้การศึกษาทางศีลธรรมแก่ประชาชน เช่น ศีล ๕ กุศลกรรมบท ๑๐ มรรค ๘ เป็นต้น ถ้าหากประชาชนตระหนักถึง แนวทางศาสนา พวกเขาก็จะไม่ต้องกระทำผิด หรือไม่ก่ออาชญากรรมที่รุ่นแรง ดังนั้นคุณธรรมทางพระพุทธศาสนาก็คือ บุคคลไม่ควรที่จะต้องการลงโทษผู้อื่น แต่ควรที่จะให้โอกาสเขาเพื่อที่จะปรับปรุงแก้ไขให้เป็นคนดี

     ในทางกลับกัน อาชญากรในทางอาชญาวิทยาจะต้องถูกลงโทษเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำซ้อน ดังนั้น การลงโทษ เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ยังมีความจำเป็นในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐ

     กล่าวโดยสรุปก็คือ อาชญากรสมควรที่จะถูกลงโทษ ดูแล และได้รับการบำบัดฟื้นฟูไปพร้อมๆ กัน สำหรับการลงโทษประหารชีวิตนั้น จะต้องมีบทบัญญัติที่กำหนดไว้ชัดเจนโดยกฎหมาย ในขณะเดียวกัน การพิจารณาพิพากษาลงโทษของศาลก็ควรที่จะยืดหยุ่นได้ เช่น ในกรณีของอาชญากรที่รู้จักสำนึกในความผิด และพยายามที่จะปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น ก็สมควรที่จะได้รับการลดหย่อนโทษ ส่วนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาก็จะช่วยให้ประชาชนผู้ประพฤติปฏิบัติตามเป็นผู้มีศีลธรรม

Download : 254512.pdf
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012