หน้าหลัก
ค้นหา
ติดต่อ
สมุดโทรศัพท์
การเรียน/การสอน
เหตุการณ์
แผนที่เว็บ
Thai/
Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ
หน้าหลัก
»
ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์
» การศึกษาเสริมสร้างกระบวนการการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการทางสมอง ลักษณะความไร้ความสามารถทางการรับรู้และการเรียนรู้
เข้าชม : ๑๖๖๐๗ ครั้ง
''การศึกษาเสริมสร้างกระบวนการการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการทางสมอง ลักษณะความไร้ความสามารถทางการรับรู้และการเรียนรู้''
ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์
(2553)
การศึกษา (Education) เป็นกระบวนการวิธีการที่ทำให้บุคคลเปลี่ยนไปในทางที่ดีที่
สุด เพื่อจะได้ปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ส่งเสริมความผาสุกของตนเอง
และสังคม อีกนัยหนึ่ง การศึกษาคือกระบวนการวิธีการแห่งความเจริญงอกงาม Education
is Growth ทางร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และทางศีลธรรมจรรยา การศึกษานั้นไม่มีที่สิ้นสุดตราบใดมีชีวิตก็ต้องมีการศึกษา ฉะนั้นการศึกษาคือชีวิต (Education is Life) ไม่ว่ามนุษย์ที่เกิดมาจะสมบูรณ์ หรือไม่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย สติปัญญา ก็จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้
การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง ผลลัพธ์ (Outcomes) ที่เกิดขึ้นกับตัวบุคคลซึ่ง
เกิดขึ้นจากการที่บุคคลได้กระทำกิจกรรม หรืออยู่ในเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นประสบการณ์
(Experiences) การเรียนรู้ก่อให้เกิดความรู้ (Knowledge) ความชำนาญ (Skill) ความรู้สึก(Feeling) เจตคติ (Attitude) การเรียนที่มีประสิทธิภาพต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลเนื่องมาจากได้รับประสบการณ์ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นมีลักษณะสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการเรียนรู้เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล และลักษณะพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจะต้องครอบคลุมกลุ่มลักษณะที่พึงประสงค์ ๓ ด้านคือ ด้านพุทธิพิสัย คือความรู้(Cognitive Domain) ด้านจิตพิสัย คือ มีคุณค่าทางเจตคติที่ดี (Affective Domain)๑ และ ด้านทักษะพิสัย คือ ความสามารถในทางปฏิบัติได้ (Psychomotor Domain)
ดูเนื้อหาฉบับเต็ม
(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓)
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
พัฒนาและดูแลโดย :
webmaster@mcu.ac.th
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕