หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » ผศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร » ภาพแห่งความรุ่งเรืองเมืองโบราณและพุทธสถานในคัมภีร์
 
เข้าชม : ๒๒๒๒๕ ครั้ง

''ภาพแห่งความรุ่งเรืองเมืองโบราณและพุทธสถานในคัมภีร์''
 
ผศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร

     ในยุคที่มีคัมภีร์สำเร็จรูป ทั้งหนังสือและอุปกรณ์เพื่อการสืบค้น ความรู้ในคัมภีร์ถูกประยุกต์ เข้ากับวิชาสมัยใหม่ ที่เคยฝากความรู้ในตำรา ตอนนี้อาจเกิดปัญหาได้หากตามไม่ทัน ยุคข้อมูล ไหลบ่าท่วมท้นยิ่งต้องพัฒนาข้อมูล จะศึกษาคัมภีร์ก็ต้องให้สอดคล้องกับวิทยาการสมัยใหม่ มอง
หลายแง่ ต้องทำให้ดูเสมือนว่าไม่ล้าหลังไม่ตกยุค  อาศัยข้อมูลในคัมภีร์พัฒนาองค์ความรู้ขึ้นมา ไม่ว่าเป็นด้านวรรณกรรม ด้านประวัติศาสตร์ หรือด้านอุดมคติ แม้คัมภีร์มีเรื่องโบราณก็ต้องอนุ รักษ์ ทิ้งไม่ได้เลย ทุกอย่างอยู่ที่เทคนิค อธิบายให้สอดคล้องสัมพันธ์กับ “5Q” ก็ทำได้ พูดซ้ำซาก กับตัวช่วยที่มองไม่เห็น ก็ทำได้

     ชาวพุทธที่เคร่ง บทความนี้อาจขวางกั้นทางพระนิพพาน เพราะไม้ใช่เรื่องปฏิบัติธรรม เป็นทางกั้นเป็นประวัติศาสตร์ เป็นดิรัจฉานกถา มีแต่เรื่องความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ ถ้าหากจะมองว่า
เรื่องนี้ชี้อนิจจังสังคมในอดีต  ก็ไม่ใช่ดิรัจฉานกถา  เพราะสัมพันธ์กับไตรลักษณ์ “ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง” ข้อดีคงช่วยให้วิเคราะห์เรื่องอื่นในบริบทเดียวกันได้บ้าง  อย่างน้อย จะเข้าใจพระพุทธพจน์ใน ธรรมบท ที่ว่า “เมื่อโลกลุกเป็นไฟอยู่เป็นนิตย์ ทำไมจึงมัวหัวเราะร่าเริง กันอยู่”  (โก นุ หาโส กิมานนฺโท)

เมืองโบราณยุคมหาชนบท
     อดีตถึงปัจจุบัน ค่านิยมอิงกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นยุคโบราณ ยุคใช้เหตุผลหรือว่า ยุคใหม่ ยุคโบราณค่านิยมไม่เป็นระบบ เชื่ออำนาจที่มองไม่เห็น เชื่อการอวตาร อำนาจเทพเจ้า เวทมนตร์คาถา ยุคโบราณตรงกับสมัยพระเวทในอินเดีย ยุคใช้เหตุผล ความคิดเป็นระบบ มนุษย์ เป็นผู้วางกรอบกำหนดกฎเกณฑ์แก้ไขปัญหาด้วยสติปัญญา ยุคเหตุผล
ในอินเดียตรงกับยุคอุปนิษัท และพุทธกาล ยุคใหม่ถัดจากสองยุคแรก
 
     การปกครอง การศึกษา และการครองชีพ เป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นทุก
ยุคสมัยทุกสังคม ที่สำคัญ คือ การปกครอง การปกครองเป็นตัวแปร กำหนดสังคมให้ก้าวหน้าหรือล้าหลัง ประชาชน รับอิทธิพลจากการปกครอง คล้อยตามผู้มีอำนาจ (อิสฺสรานุวตฺตโก หิ โลโก)  

     แม้กาลเวลาล่วงเลยมา เรื่องราวในชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) มีข้อมูลขยายได้ไม่รู้จัก จบ เมื่อเอ่ยถึงชื่อชมพูทวีป ก็คือ อินเดียเหนือ รวมบางส่วนในปากีสถานและอัฟกานิสถาน ด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดภูเขาในเปอร์เซีย(อิหร่าน) ด้านทิศตะวันออกติดภูเขาหิมาลัย(เนปาล) ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย

      ช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมชีพ คือ พุทธกาล ก่อน พ.ศ. ๘๐ มีปราชญ์ทั้งใน ซีกโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ยุคนั้น อาณาจักรเปอร์เซีย (อิหร่าน) เป็นยุคของไซรัส (Cyrus) และดาริอุส(Darius) จักรพรรดิอคาเมเนียน (Achaemenian Emperors) ทรงอำนาจเหนือแบก เตรีย (Bactria) มีเดีย (Media) บาบิโลเนีย (Babylonia) และอัซซีเรีย (Assyria)
คันธาระแคว้น หนึ่งใน ๑๖ แคว้น และรัฐปัญจาปในชมพูทวีปอยู่ใต้อาณัติของดาริอุส อารยธรรมหมู่บ้าน (Indus Valley) เป็นส่วนหนึ่งในจักรวรรดิอคาเมเนียน วัฒนธรรมเปอร์เซียส่งอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอินเดีย ที่สำคัญคืออักษรขโรษฐี แหล่งกำเนิดอยู่ในตะวันตกเฉียงเหนือในเปอร์เซีย มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ อักษรอารามอิก(Aramaic)ในตักกสิลา เมืองศูนย์การศึกษา เสาหิน (The Pillars) รูปสิงห์เดี่ยว โคเดี่ยว ช่างเดี่ยว และรูปสิงห์ ๔ ตัว ที่หัวเสา และศิลาจารึก (The Edic) ของพระเจ้าอโศก รับ อิทธิพลจากศิลปะเปอร์เซีย ศิลปะกรีกที่เรียกว่า Hellenistic ผ่านเปอร์เซียไปยังอินเดีย

      พุทธกาลตรงกับยุคอาณาจักรมคธ เป็นยุคมหาชนบท ด้านภูมิศาสตร์การปกครอง แบ่ง ออกเป็น คาม นิคม บุรี นคร มหานคร ชนบท และมหาชนบท ผู้ปกครองมีหลายตำแหน่ง ราชา อุปราชา เสนาบดี ผู้ตัดสินคดี กำนัน นายบ้าน ปุโรหิต เป็นต้น ที่เป็นภัยคุกคามประชาชน มีภัย
จากธรรมชาติ กับภัยจากมนุษย์ ทั้งทุพภิกขภัย ฉาตกภัย โรคภัย สงคราม และการปกครองที่ไม่ เป็นธรรม

      ประวัติศาสตร์อินเดียส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องเล่า บางส่วนมีในคัมภีร์ปุราณะ๑ มีทั้งเรื่อง ลึกลับและตำนาน ระบุราชวงศ์โบราณ ๒ วงศ์ ได้แก่ ๒ อาทิจจวงศ์ (สุริยวงศ์) กับ โสมวงศ์ (จันทวงศ์) ผู้เป็นต้นอาทิจจวงศ์ ได้แก่ มนู (Manu) ผู้สืบต่อจากมนู ได้แก่ ราม (Rama) มีผู้สืบ ทอดมากกว่า ๖๐ รุ่น๓ ทายาทของราม ได้แก่ กุสะ (Kusa) และลวะ (Lava) ผู้สร้างเมืองกุสาวดีและเมืองสาวัตถี เมืองกุสาวดีก็คือเมืองกุสินารา๔ เมืองที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระพุทธเจ้า ทรงมีกำเนิดในอาทิจจวงศ์ ทรงเป็นอาทิจจพันธุ เผ่าพันธุ์แห่งดวงอาทิตย์ ทรงเป็นโคตมโคตร

      ด้านภูมิศาสตร์ ยุคมหาชนบท แบ่งได้ ๑๖ แคว้น รูปแบบการปกครองมี ๒ ระบบ คือ มีราชา(Monarchical States) กับ ไม่มีราชา (Kingless State, Republication) ผู้นำมีอยู่หลาย ชนเผ่า ได้แก่๕ วงศ์หรยัญกะ (พิมพิสาร), วงศ์โกศล (ปเสนทิโกศล), วงศ์อวันตี (ปัชโชต), วงศ์ วังสะ (อุเทน), คันธาระ(ปุกกุสาติ), โสวีระ (โรรุวนคร), และกุกกุฏวดีนคร (มหากัปปินะ)

      ผู้มีอำนาจแย่งชิงความเป็นใหญ่กัน ระบุ ว่า :-
      -  ภิกษุไปดูกองทัพเคลื่อนขบวน ภิกษุพักอยู่ในกองทัพ ภิกษุไปดูสนามรบ..
      กองทัพช้าง มีช้าง ๓ เชือกเป็นอย่างน้อย กองทัพม้า มีม้า ๓ ตัวเป็นอย่างน้อย กองทัพ รถ มีรถ ๓ คันเป็นอย่างน้อย กองทัพพลเดินเท่า มีทหารถือธนู ๔ นายเป็นอย่างน้อย๖
      -  พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทำสงครามกับพวกลิจฉวี พ่ายแพ้ ภายหลังระดม พลยกไปรบจนได้รับชัยชนะ จึงให้ตีกลองประกาศชัยชนะในการสงครามว่า “พระราชาทรงชนะพวก ลิจฉวี”
      -   สุนีธะและวัสสการะมหาอมาตย์ แห่งมคธ กำลังสร้างเมืองที่ปาตลิคาม ป้องกัน พวกลิจฉวี
      -   พระเจ้าอชาตศัตรู แคว้นมคธ ทรงหวาดระแวงพระเจ้าปิชโชต รับสั่งให้ปฏิสังขรณ์ เมืองราชคฤห์(อาวุธที่อชาตศัตรูใช้สู้รบกับพวกลิจฉวี คือ ศิลากัณฎกะ และ รถมุสละ)
      -   พระเจ้าอชาตศัตรู จอมทัพมคธ กับ พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำสงคราม
      -   พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จกลับจากการสู้รบ ทรงชนะสงคราม
      -   สงครามระหว่างพระเจ้าอชาตศัตรู กับ พระเจ้าปเสนทิโกศล ปะทุขึ้นมาเพราะพระ  เจ้าอชาตศัตรูต้องการยึดหมู่บ้านกาสี กลับคืน๑๒
      -   รูปแบบกลยุทธ์การสู้รบมี ๓ รูปแบบ การสู้รบ หรือค่ายกล มีลักษณะคล้ายดอกบัว(ปทุม พยูหะ) การสู้รบ มีลักษณะคล้ายกงจักร (จักกพยูหะ) การสู้รบ มีลักษณะคล้ายเกวียน (สกฏพยู หะ)

      การแย่งชิงอำนาจ ไม่ว่าจะทำสงครามหรือทำในลักษณะอื่น ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในสังคม แห่งความโลภ์โมห์โทสัน ปัญหาความรุนแรงไม่ต่างกับยุคนี้ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฆ่าอำพรางคดี อาชญากรทางเพศ ฆ่านักบวช ฯลฯ การละเมิดไม่พ้นศีล ๕ เช่นที่ระบุว่าประชาชนโค่นล่มราชวงศ์
ของพระเจ้าพิมพิสาร เพราะทำปิตุฆาต ๕ ชั่วโคตร (ปิตุวโธ ปญฺจปริวฏฺเฏ คโต) วิฑูฑภะโอรส พระเจ้าปเสนทิโกศล กบฏพระบิดาร่วมมือกับทีฆการายนะหลานของพันธุละยึดอำนาจ ฆ่าล้าง แค้นชนเผ่าศากยะ
 
      กาลเวลา ที่เกิดเหตุ เกิดขึ้นนับพันปี ความรุนแรงจึงดูเหมือนว่าไม่รุนแรง ทั้งบรรยาย โวหารด้วยภาษากวี จึงแทบไม่รู้สึกว่ารุนแรง

      - ด้านการปกครอง

      ระบอบปกครองของกลุมที่คัดเลือกผู้นำ เป็นอมาตยาธิปไตย (Aristocracy) มาจากกลุ่ม ชนชั้นสูง คือ ลิจฉวี เมืองเวสาลี, ศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์, มัลละ เมืองปาวา และเมืองกุสินารา, ภัคคะ เมืองสุงสุมารคีรี, โกสิยะ เมืองรามคาม และเมืองเทวทหะ, โมริยะ เมืองปิปผลิวัน, กาลา มะ เมืองเกสบุตร, และกลุ่มที่สืบทอดอำนาจ เป็นราชาธิปไตย (Monarchy)
มี พิมพิสาร เมือง ราชคฤห์, ปัชโชต แคว้นอวันตี, ปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี สำหรับชนเผ่าศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์ มีระบบปกครองแปลกจากชนเผ่าอื่น ระบบศากยวงศ์ มีเอกลักษณ์ รวมอำนาจอยู่กับชนเผ่าเดียว (Oligarchy)

      ศากยวงศ์ ได้ชื่อว่าเป็นคณะราชา เลือกผู้นำเหมือนพวกลิจฉวีบรรพบุรุษของ ชาวมัลละ เมืองปาวา สืบทอดไปจากพวกลิจฉวี ต้องคัดเลือกผู้นำ มีกฎเกณฑ์บริหารองค์กร ผู้ไม่ มีวาระหรือพ้นเลยกำหนดหน้าที่บริหาร หรือถ้าไม่ถึงคราวบริหารจะไปค้าขาย

      ศากยวงศ์ไม่ได้ปกครองเป็นอิสระ อยู่ในเขตโกศล พระเจ้าสุทโธทนะได้รับคัดเลือก ให้บริหาร ผู้ที่ได้รับเลือกต่อมา คือ ภัททิยะ คนต่อมาคือ มหานามะ พี่ชายของอนุรุทธ์ ศากยวงศ์ ล่มสลายเพราะวิฑูฑภะบุกทำลายช่วงปลายพุทธกาล

      ผู้นำลิจฉวี มีตำแหน่งเป็นราชา จำนวน ๗,๗๐๗ ผู้บริหารองค์กรมีอยู่หลายตำแหน่ง คืออุปราช เสนาบดี นักกฎหมาย (มหาอมาตย์ตัดสินคดี) กำนัน และนายบ้าน มีผู้บริหารจำนวน เท่ากัน๑๙ ๗,๗๐๗ คน มัลละเป็นเครือญาติของลิจฉวี มีวาระการบริหาร มีสำนักงานว่าการเป็น โรงประชุม เรียกว่า  สัณฐาคาร (Mote-Hall)  ดังบรรยายว่า  คราวที่พวกศากยะเพิ่งสร้าง สัณฐาคารเสร็จ นิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จเป็นปฐมฤกษ์  เมื่อพวกมัลละเพิ่งสร้างสัณฐาคารเสร็จ นิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จเป็นปฐมฤกษ์  คราวใกล้ปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ ไปแจ้งข่าว พวกมัลละให้ทราบที่สัณฐาคาร ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน

      ยุคนั้น ผู้นำหรือคนที่มีสถานะสังคมเดียวกัน มีความสัมพันธ์ในกลุ่มเดียวกัน ราชากับ ราชา พ่อค้ากับพ่อค้า ธิดาทั้ง  ๔ ของพระเจ้าเจตกะ เมืองเวสาลี สมรสกับผู้มีอำนาจอีกหลาย เมือง เจ้าหญิงประภาวดีสมรสกับพระเจ้าอุทัย เมืองสินธุ-โสวีระ เจ้าหญิงปัทมวดี สมรสกับพระ เจ้าทธิวาหนะ เมืองจัมปา เจ้าหญิงมฤควดี สมรสกับพระเจ้าสตนิกะ เมืองโกสัมพี เจ้าหญิงสิวะ สมรสกับพระเจ้าปัชโชต แคว้นอวันตี

      พระเจ้าพิมพิสาร เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เกี่ยวดองกับพระเจ้าปเสนทิโกศลเมือง สาวัตถี แคว?นโกศล เพราะทรงเป?นพระสวามีของพระภคินีกัน (อญฺญฺมญฺญํ ภคินีปติกา)
 
      พระเจ้ามหาโกศล พระบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงมอบภาษีจากหมู่บ้านในแคว้น โกศลกับแคว้นมคธ ๑๐๐,๐๐๐ แก่เจ้าหญิงเวเทหิราชธิดา เป็นค่าเลี้ยงดู (นหาณจุณฺณมูลํ)พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงมอบเจ้าหญิงวชิราราชธิดาแก่พระเจ้าอชาตศัตรู 
 
      อนาถบิณฑิกเศรษฐี เมืองสาวัตถี เกี่ยวดองกับราชคหเศรษฐี เมืองราชคฤห์ เพราะเป็น สามีของน้องสาวกัน (อญฺญมญฺญํ ภคินีปติกา)

      นางสุชาดา น้องของนางวิสาขา เมืองสาเกต เป็นสะใภ้ของอนาถปิณฑิกเศรษฐี คหบดี ชาวเมืองสาวัตถี

      ความสัมพันธ์ของอิสรชน กลายเป็นประวัติศาสตร์ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย...

      พระเจ้าพิมพิสารมีความสัมพันธ์กับนิครนถ์นาฏบุตรมากน้อยเพียงใด

      อชาตศัตรูกับพระเทวทัตเกี่ยวข้องกับนิครนถ์หรือไม่

      อภัยราชกุมารโอรสพระเจ้าพิมพิสาร อุปถัมภ์นิครนถ์ ถูกเสี้ยมสอนให้
โต้วาทะแต่นับถือ พระพุทธเจ้าได้อย่างไร

      พระพุทธศาสนาตั้งมั่นที่ราชคฤห์ เหตุใดพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่สาวัตถีมากกว่าที่ราชคฤห์

      เงื่อนไข ๕ อย่างของพระเทวทัตสัมพันธ์กับวัตรปฏิบัติของนิครนถ์ได้อย่างไร

      นิครนถ์นาฏบุตรเสียใจอาพาธที่แคว้นสักกะ ไฉนไปสิ้นชีพที่เมืองของมัลลกษัตริย์ 
      อะไรเป็นเหตุให้พระพุทธองค์เสด็จไปปรินิพพานที่เมืองของมัลลกษัตริย์
      ปรากฏการณ์ในครั้งพุทธกาล เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของอิสรชนเพียงไม่กี่คน
      คำว่า สังฆะ คณะ ปูคะ และนิกายะ มีความหมายถึงการปกครอง
      คำว่า “สงฆ์” (ภิกฺขุสํโฆ) ดั้งเดิมคือชื่อองค์กรชนเผ่าลิจฉวี คือ ลิจฉวีสงฆ์ รูปแบบ บริหารองค์กรสงฆ์ ที่เรียกว่าสังฆกรรม (งานส่วนรวม) เช่น คนปูลาดที่นั่ง(อาสนปัญญาปกะ) การโหวต (ญัตติ) การให้จับสลาก  (สลากคาหาปกะ)ผู้นับองค์ประชุม  (คณปูรกะ) กำหนดให้ ภิกษุทำงานได้คราวละ ๔ รูป ๑๐ รูป ๒๐ รูป หรือมากกว่านั้น ประยุกต์จากองค์กรของลิจฉวีและ มัลละ การสวดญัตติ  (ญัตติกรรม) เช่นให้อุปสมบท สวดกฐิน คัดเลือกผู้ทำงานสงฆ์ หรือจับ สลาก ประยุกต์ไปจากการบริหารองค์กรของลิจฉวี เช่นกัน

      เอ. สังกรเรย์ (A. Sankararey) มองว่า ประชาธิปไตยที่แท้ เกิดขึ้นและหมดสิ้นไปแล้ว ในอินเดีย  พร้อมพระพุทธศาสนา  (True democracy began and ended in India with Buddhism)

      เมืองศูนย์กลางการศึกษาก่อนพุทธกาล คือ ตักกสิลา ตั้งอยู่ในแคว้นคันธาระ(ปัจจุบัน ตั้งอยู่ในปากีสถาน) เป็นศูนย์กลางการศึกษาของพราหมณ์ เมืองพาราณสี แคว้นกาสี เคยเป็น ศูนย์กลางการศึกษาอินเดียตะวันออกมาก่อนพุทธกาล ศูนย์กลางการศึกษาในพุทธกาลอยู่ที่เมือง ราชคฤห์ ในแคว้นมคธ เมืองเวสาลี ในแคว้นวัชชี และเมืองสาวัตถี ในแคว้นโกศล
 
      ปลายพุทธกาล เมืองจำปา แคว้นอังคะ, เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ,
 เมืองสาวัตถี และ เมืองสาเกต แคว้นโกศล, เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ และเมืองพาราณสี แคว้นกาสี๓๐ เป็นเมือง สำคัญในอินเดียตะวันออก

 ชาดก แหล่งประวัติศาสตร์อินเดีย ระบุแว่นแคว้นบ้านเมืองหลายแห่ง เช่น เมืองกปิละ เมืองกาลิงคะ เมืองสีพี เมืองมหิงสกะ เมืองโรรุวนคร อุตตรปัญจาลนคร อริฏฐปุรนคร เมืองสินธุ เมืองโสวีระ

      เมืองพาราณสี แคว้นกาสี เป็นสังเวชนียสถานแห่งหนึ่ง เป็นสถานที่
แสดงปฐมเทศนา ในอดีตเมืองพาราณสีเปลี่ยนมาหลายชื่อ  คือ  สุรุนธนนคร (ในอุทยชาดก) สุทัสสนะ (ใน จูฬสุตตโสมชาดก) พรหมวัฑฒนะ (ในโสณนันทชาดก) ปุปผวดี (ในขัณฑหาลชาดก โมฬินีนคร (ในสังขพราหมณชาดก) รัมมนคร  (ในยุธัญชยชาดก) ปัจจุบันพาราณสี คงเป็นพาราณสี มีผู้ปกครองหลายคนในอดีต เช่น สังยมะ กัณฑรี พกะ เอสุการี เสนกะชนกะ ทัฬหธัมมะ อุทัย ชนสันธะ วิสสเสนะ กลาพุ ธนัญชยะ มหาปตาปะ ตัมพะ สุสีมะ สามะ ยสปาณิ มหาปิงคละ

       แคว้นสินธุ และแคว้นโสวีระ ตั้งอยู่ในรัฐปัญจาป ปัจจุบันตั้งอยูู่ในปากีสถาน
      ก่อนพุทธกาลเป็นประวัติศาสตร์ยุคหนึ่ง พุทธกาลเป็นอีกยุคหนึ่ง
      แคว้นที่ไม่ระบุว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จไป คือ คันธาระ และกัมโพชะ ปัจจุบันตั้ง อยู่ในปากีสถานและอัฟกานิสถาน

      บุคคล และสถานที่ ในพุทธประวัติ ปรากฏในมหาชนบท ๑๖ แคว้น :-

      ๑. แคว้นอังคะ จัมปาเป็นเมืองหลวง ปัจจุบัน คือ รัฐพิหารตะวันออก

     บุคคล/สถานที่ เมืองจัมปา เมืองภัททิยะ (บ้านบิดานางวิสาขา, เมณฑกเศรษฐี) เมือง อัสสปุระ เมืองอาปณะ คัคคราโบกขรณี พระโสณโกฬิวิสะ พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น

      ๒. แคว้นมคธ ราชคฤห์หรือคิริพชะเป็นเมืองหลวง ปัจจุบัน คือ ราชคีร์ (Rajgir) รัฐ พิหารเหนือ พระเจ้าอชาตศัตรูย้ายเมืองหลวงไปที่ปาฎลีบุตร ปัจจุบัน คือ ปัฏนะ
 
      บุคคล/สถานที่  พระสารีบุตร  พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระเจ้า พิมพิสาร อชาตศัตรู อภัยราชกุมาร อุรุเวลาเสนานิคม ลัฎฐิวัน  เวฬุวัน  คิชฌกูฏ สุกรขาตา ชีวกัมพวัน ตโปทาราม ปิปผลิคูหา สัตตปัณณคูหา อัมพลัฏฐิกา พหุปุตตกนิโครธ สีตวัน กาฬ สิลา อินทสาลคูหา ปาสาณกเจดีย์ นาลันทา ปาฏลีบุตร เป็นต้น

      ๓. แคว้นกาสี พาราณสีเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันคือ พาราณสี หรือ Banaras/Banares
      บุคคล/สถานที่ ปัญจวัคคีย์ อิสิปตนมฤคทายวัน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อนัตตลักขณสูตร พระยสะ นางสุปปิยา เป็นต้น

      ๔. แคว้นโกศล สาวัตถีเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันคือสาเหตมาเหต หรือ อูธ (Outh) หรืออโยธยา
      บุคคล/สถานที่ พระเจ้าปเสนทิโกศล มัลลิกาเทวี วิฑูฑภะ วิสาขามหาอุบาสิกา อนาถ ปิณฑิกเศรษฐี เมืองสาวัตถี แม่น้ำอจิรวดี หรือ รัปติ (Rapti) เป็นต้น
 
      ๕. แคว้นวัชชี  เมืองหลวงคือเวสาลี ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหารตอนเหนือ
 เขตมูซาฟ์ฟาร์ปูร์ (Muzaffarpur)
      บุคคล/สถานที่  เจ้าลิจฉวี  นางอัมพปาลี  กูฏาคารศาลา  ป่ามหาวัน  ปาวาลเจดีย์ สัจจกนิครนถ์ เมืองเวสาลี เป็นต้น

      ๖.  แคว้นมัลละ เมืองหลวงคือกุสาวดี มี ๒ เขต ได้แก่ มัลละเหนือ
และมัลละใต้ ปัจจุบัน คือพื้นที่ภาคตะวันออกของอุตรประเทศ ในโครักขปูร์ (Gorakhpur)
      บุคคล/สถานที่  พระทัพพมัลลบุตร  นิครนถ์นาฏบุตร  เมืองกุสินารา  เมืองปาวา สาลวโนทยาน มกุฏพันธนเจดีย์ อนุปิยอัมพวัน เป็นต้น
 
      ๗. แคว้นเจตี เมืองหลวงคือโสตถิวดี ปัจจุบันคือพื้นที่ตอนใต้อุตร
ประเทศติดกับดินแดน ตอนเหนือในมัธยมประเทศ เจดีย์ขชุรโห (Khajuraho) อยู่ในเขตนี้  บุคคล/สถานที่  ปาจีนวังสมิคทายวัน  สหชาตินคร  ในวินัยปิฎก ระบุชื่อเมือง โสเรยยะ เมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ เมืองอุทุมพระ เมืองอัคคปุระและเมืองสหชาตินคร มหาปุริสวิตักกสูตร เป็นต้น

      ๘. แคว้นวังสะ  โกสัมพีเป็นเมืองหลวง  ปัจจุบันคือหมู่บ้านโกสัม (Kosam) ในอัลลาฮาบาด (Allahabad)
      บุคคล/สถานที่ โฆษกเศรษฐี พระเจ้าอุเทน พระนางสามาวดี เมืองโกสัมพี โฆสิตาราม กุกกุฏาราม ปาวาริการาม เป็นต้น

      ๙. แคว้นกุรุ อินทปัตถ์เป็นเมืองหลวง ปัจจุบัน คือ เดลี และบริเวณใกล้เคียง
      บุคคล/สถานที่ รัฐบาลกุลบุตร มาคันทิยา นิคมกัมมาสทัมมะ เมืองอินทปัตถ์ มหา สติปัฏฐานสูตร มหานิทานสูตร เป็นต้น

      ๑๐.  แคว้นปัญจาละ หัสตินาสปุระเป็นเมืองหลวง มี ๒ เขต ปัญจาละเหนือกับปัญจาละใต้
      บุคคล/สถานที่ เมืองสังกัสสะที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ (เชิงเขาหิมาลัย)

      ๑๑.  แคว้นมัจฉะ สาคละเป็นเมืองหลวง (วิราฏะนคร) ปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐราชสถานและ บริเวณใกล้เคียง

      ๑๒.  แคว้นสุรเสนะ มถุราเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันเหลือแต่ซากเมืองโบราณ ตั้งอยู่ห่าง ตัวเมือง เรียกว่า มโหลิ
      บุคคล/สถานที่ เช่น พรหมายุพราหมณ์ พระเจ้ามถุรราชอวันตีบุตร คุนทาวัน

      ๑๓.  แคว้นอัสสกะ โปตนะเป็นเมืองหลวง(โปตลี) ปัจจุบันอยู่ในแคว้นมหาราษฎร์
      บุคคล/สถานที่  พราหมณ์พาวรี มาณพ  ๑๖ คน แม่น้ำโคธาวารี เมืองโปตนะ เป็นต้น

      ๑๔.  แคว้นอวันตี อุชเชนีเป็นเมืองหลวง มี ๒ เขต คือ อวันตีเหนือ (อุชเชนี) และอวัน ติทักขิณาปถะ (มาหิสสติ) ปัจจุบันคืออุชเชน
      บุคคล/สถานที่ เช่น พระมหากัจจายนะ พระโสณกุฏิกัณณะ พระเจ้าจัณฑปัชโชต

      ๑๕.  แคว้นคันธาระ (non-Aryan) ตักกสิลาเป็นเมืองหลวง ปัจจุบัน
คือกันดาหาร์ อยู่ใน อัฟกานิสถานและปากีสถาน ได้แก่ เปชวาร์ (Peshwar) รวัลปินฑิ (Rawalpindi)
      บุคคล/สถานที่ เช่น ปุกกุสาติ ตปุสสะ ภัลลิกะ พระเจ้ากนิษกะ เมืองตักกสิลา
 
      ๑๖.  แคว้นกัมโพชะ  (non-Aryan) ทวารกะเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ใน
อินเดียเหนือสุด ปัจจุบันอยู่ในเขตแคชเมียร์ ในปากีสถานและอัฟกานิสถาน

     ชื่อบ้านเมืองต่าง ๆ ผิดเพี้ยนกร่อนหาย ก่อนพุทธกาลเรียกชื่ออย่างหนึ่งพุทธกาลเรียก อีกชื่อหนึ่ง บ้านเมืองซึ่งไม่ใช่มหาชนบท มี สักกะ เมืองกบิลพัสดุ์, โกลิยะ เมืองเทวทหะ, และวิเท หะ เมืองมิถิลา ระบุว่า โขมทุสสะ จาตุมา สามคาม เวธัญญา อุลมปะ สักกระ และสีลวดี เป็นอาณานิคมศากยวงศ์

      เส้นทางคมนาคม ภาคกลาง ภาคใต้ อุตราบถ ตะวันออก ตะวันตก ภาคกลาง
      ๑. เริ่มจากเมืองราชคฤห์ไปยังพาราณสี ภัททิยะ(แคว้นอังคะ) และสาวัตถี
      ๒. เริ่มจากเมืองภัททิยะไปยังอังคุตตราปะ ไป(อาปณนิคม) กุสินารา และอาตุมา
      ๓. เริ่มจากเมืองสาวัตถีไปยังราชคฤห์
      ๔.  เริ่มจากพาราณสี ไปยัง(อันธกวินทชนบท)ราชคฤห์  (ปาฏลิคาม, โกฏิคาม) และเวสาลี
      ๕. เริ่มจากเมืองราชคฤห์ไปยังทักขิณาคีรี
      ๖. เริ่มจากเมืองโกสัมพีไปยัง(พาลกโลณกะ, ปาจีนวังสะ, ปาริไลยกะ) และสาวัตถี
      ๗. เริ่มจากเมืองสาวัตถีไปยังภัคคชนบท
      ๘. เริ่มจากเมืองเวสาลีไปยังสาวัตถี
      ๙. เริ่มจากเมืองสาวัตถีไปยัง (กีฏาคีรี, อาฬวี) และราชคฤห์
      ๑๐. เริ่มจากอนุปิยนิคม (แคว้นมัลละ)ไปยังโกสัมพี และราชคฤห์
      ๑๑. เริ่มจากเมืองกบิลพัสดุ์ไปยังเวสาลี และสาวัตถี
      ๑๒. เริ่มจากเมืองปาวาไปยังกุสินารา
      ๑๓. เริ่มจากโสเรยยะไปยังสังกัสสะ กัณณกุชชะ อุทุมพร อัคคฬปุระ และสหชาตินคร
      ภาคใต้ เริ่มจากสาวัตถีไปยังปติฏฐานะ มหิสสติ อุชเชนี โกนัททะ เวทิสา โกสัมพี และ สาเกต (พราหมณ์พาวรี)
      อุตตราบถ เริ่มจากสาวัตถีไปยังตักกสิลา (คันธาระ) และมถุรา
      ตะวันออก เริ่มจากอุกกลา(อัฟกานิสถาน)ไปยังคยาสีสะ
      ตะวันตก
      ๑. เริ่มจากราชคฤห์ไปยังสินธุ-โสวีระ รัฐปัญจาป (ปากีสถาน)
      ๒. เริ่มจากเมืองทวารกะไปยังแคว้นกัมโพชะ (อัฟกานิสถาน)
      ๓. เริ่มจากอุตราบถ เมืองมถุราไปยังทวาราวดี
      เส้นทางคมนาคมโบราณ ปรากฎอยู่ในวินัยปิฎกและสุตตันตปิฎก
 
       -   การลงโทษ

      มีบทบัญญัติลงโทษผู้กระทำความผิด มีกฎหมายควบคุมสังคม ผู้ฝ่าฝืนย่อมถูกลงโทษ พวกลิจฉวี  เมืองเวสาลี  เป็นนักกฎหมาย  กฎหมายลิจฉวี  เรียกว่า  วัชชีธรรม (โปราณํ วชฺชิธมฺมํ ) หลักปฏิบัติที่มีแต่โบราณ การทำโทษผู้กระทำผิดมีอยู่หลายวิธี ผู้นำ(ราชา)สั่งให้จับ กุมผู้ละเมิดลงอาญา ใช้วิธีเดียวกับที่นายนิรยบาลลงโทษสัตว์ในนรกภูมิ หลายวิธี    :- เฆี่ยน ด้วยแส่, เฆี่ยนด้วยหวาย, ตีด้วยไม้พลอง, ตัดมือ, ตัดเท้า, ตัดมือและเท้า, ตัดใบหู, ตัดจมูก, ตัดใบ หูและจมูก, วางก่อนเหล็กแดงบนศีรษะ, ถลกหนังศีรษะขัดให้ขาวเหมือนสังข์, เอาไฟยัดปากจนเลือด ไหลเหมือนปากราหู, เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันจุดไฟเผา, พันมือจุดไฟต่างคบ, ถลกหนังตั้งแต่คอถึง ข้อเท้าให้ลุกขึ้นเดินเหยียบหนังจนล้ม, ถลกหนังตั้งแต่คอ บั้นเอวจนถึงสัน ทำให้ดูเหมือนผ้าคากรอง, สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่า แล้วใช้หลาวแทง ๔ จุด, เอาไฟเผา, ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เกี่ยวเนื้อ
และเอ็น, เฉือนเนื้อออกเป็นแว่นเหมือนเหรียญกษาปณ์, เฉือนหนังเนื้อ เอ็นเหลือแต่กระดูก, ใช้ หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกัน, เสียบให้ติดดินจับหมุนได้รอบ, ทุบกระดูกให้แหลกถลกหนังออกเหลือ แต่กองเนื้อเหมือนดั่งใบไม้, ใช้น้ำมันเดือดพล่านรดตัว, ให้หมากัดกินจนเหลือแต่กระดูก, ให้นอน บนหลาวทั้งเป็น และ ใช้ดาบตัดคอ

      วิธีลงโทษในที่นี้  เกี่ยวข้องกับกฎของพระเจ้าฮัมมูราบี  (The Code of
Hammurabi) หรือไม่ ใครทารุณกว่ากัน ต้องเปรียบเทียบ

     ปรากฏการณ์ในอดีต ทำให้เห็นความรุ่งเรืองและความผันแปร
ให้คติเตือนว่าสังคมย่อม ผันแปร ชื่อบ้าน ชื่อเมือง เปลี่ยนตามยุคสมัย ความยิ่งใหญ่อลังการล้วนอยู่ในกฎไตรลักษณ์ ไม่จีรังไม่ยั่งยืน เป็นมรดกของโลก

      ตัวอย่าง ความยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิมหาสุทัสสนะ ผู้มั่งคั่ง มีสมบัตินานัปการ เมือง กุสาวดี ทรงมีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล นคร ปราสาท เรือนยอด บัลลังก์ ช้าง ม้า รถ สตรี ผ้านุ่งห่ม  ภาชนะสำหรับใส่อาหาร  วิจิตรอลังการ  ทรงมีจับจ่ายใช้สอยเหลือเฟือ  มีสมบัติ ครอบครองมากมาย แต่คราวบริโภคใช้สอย ทรงใช่เพียงอย่างเดียว “ดูเถิด สังขารทั้งปวงล่วงไป ดับไป ปรวนแปรไป สังขารไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน
ไม่น่าวางใจ  จึงควรเบื่อหน่ายสังขาร  ควรเพื่อละ คลายความกำหนัดยินดี ควรเพื่อพ้นจากไป”
 
      - ด้านการศึกษา

      ระบบวรรณะอินเดียแปลกไม่เหมือนใคร วรรณะพราหมณ์มีบทบาท
กว่าวรรณะอื่น วรรณะ หมายถึงสี (color) ระบบวรรณะสืบจากพระมนู ตามตำนาน มนุษย์เกิดจากองคาพยพ ของพรหม๓๘ เดิมมี ๔ วรรณะ พราหมณ์วางกฎว่าใครเกิดอยู่วรรณะใดไม่สามารถย้ายไปวรรณะ อื่น  เรื่องนี้เป็นปัญหาสังคมรุนแรงที่สุดในสมัยพุทธกาล  จำกัดสิทธิ์การศึกษาคนวรรณะต่ำจน ไม่สามารถจะพัฒนาตนเองได้เลยพระพุทธเจ้าทรงแก้ไขปัญหา ทรงตั้งสังคมขึ้นมาใหม่เปิดโอกาส รับทุวรรณะเข้ามาบ่มเพาะตนเอง (self-culture) โดยสอนให้มนุษย์รู้จักยับยั้งตน (self-restraint)
ให้พัฒนาตนตามศักยภาพความเป็นคน ไม่เกี่ยวข้องกับเทวานุภาพใด ๆ ใครบ่มเพาะ ยับยั้ง ขัดเกลาตนเองได้แค่ไหน อยู่ที่แต่ละบุคคล
 
      เมื่อพราหมณ์สร้างเรื่องให้พวกตนมีกำเนิดดีกว่าวรรณะอื่น พราหมณ์
จึงครอบงำสังคม คัมภีร์มนูสมฤติ (The Manusmriti) พราหมณ์แบ่งมนุษย์เป็น ๒ กลุ่ม พวกที่เป็นอารยัน กับ พวก ที่ไม่ใช่อารยัน หรือ อนารยัน (Aryan and Non-Aryan)ในกลุ่มอารยันแบ่งเป็น ทวิชาติ กับ เอก ชาติ ทวิชาติ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ เอกชาติ ได้แก่ ศูทร วรรณะศูทรถูกจำกัดสิทธิ์ ในการเรียนรู้ ศูทรเป็นวรรณะที่ไร้การศึกษา ถูกรังเกียจเดียดฉันท์ เป็นมนุษย์ไม่มีคุณค่า ความ เจริญก้าวหน้าของชีวิตถูกสังคมกำหนดว่าอยู่ที่ชาติกำเนิด ผู้ที่เกิดมาจึงมีสิทธิ์และมีโอกาสในการ พัฒนาและแสดงออกซึ่งความสามารถได้ไม่เท่าเทียมกัน

      ด้านการศึกษา พวกศูทรและคนนอกวรรณะไม่มีโอกาสเรียนรู้คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (พระเวท) ที่ถือเป็นความรู้สูงสุดในสมัยนั้นด้วยประการใด ๆ เลย ดังข้อความ ว่า
 
      “ก็แล ถ้ามัน(ศูทร) มีเจตนาฟังคำสาธยายพระเวท ให้เอาครั่งหรือตะกั่วหลอมกรอกหู มัน ถ้ามันสาธยายพระเวท ให้ตัดลิ้นมันเสีย ถ้ามันทรงจำความในพระเวทได้ ให้ผ่าร่างของมัน ออกเป็น ๒ ซีก”

      ในคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์  ก็มีข้อห้ามไม่ให้ผู้ศึกษาพระเวทแล้วสาธยายพระเวทในที่มี คนวรรณะศูทรอยู่ด้วย

      ในชาดกมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับชายหนุ่มจัณฑาล ๒ คน อยากศึกษาศิลปวิทยา ถึงกับปลอม ตัวเป็นคนวรรณะพราหมณ์ ไปศึกษาอยู่ที่ตักกสิลา แต่ภายหลังถูกจับได้จึงถูกขับไล่ออกมา
 
      พราหมณ์กำหนดให้เรียนรู้เรื่องไตรเวท เป็นหลัก (อิติหาสะ ปุราณะ ไวยากรณ์ ตรรก จริยศาสตร์ เทววิทยา กษัตริยวิทยา สรปวิทยา พรหมวิทยา นักษัตรวิทยา และภูตวิทยา)
 
      เมื่อเป็นฝ่ายตั้งกฎเกณฑ์ พราหมณ์จึงมีบทบาทในด้านการศึกษา กำหนดให้สันสกฤต เป็นภาษาการศึกษา อารยชนของพราหมณ์ต้องใช่สันสกฤตเป็นภาษาทางวิชาการ เรื่องนี้สัมพันธ์ กับพราหมณ์สองพี่น้องที่ไปขออนุญาตให้เรียนพระพุทธพจน์เป็นภาษาฉันท์ แต่ถูกปฏิเสธ

      -  ด้านเศรษฐกิจ

      ประชาชนถูกปลูกฝังเรื่องวรรณะ ความเจริญก้าวหน้าของชีวิตจึงขึ้นต่อชาติกำเนิด เรื่อง นี้มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจ เป็นปัญหาสำคัญทุกยุคสมัย สังคมแบ่งคนตามเศรษฐกิจออก ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มมีตระกูลสูง กับกลุ่มมีตระกูลต่ำ กลุ่มแรกมีฐานะเศรษฐกิจดี ได้แก่ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณมหาศาล ตระกูลคหบดีมหาศาล อีกกลุ่มหนึ่ง มีฐานะเศรษฐกิจไม่ดี ได้แก่ ตระกูล จัณฑาล ตระกูลช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูล คนยากจน

      เศรษฐกิจสัมพันธ์กับการค้า อาชีพค้าขายมีความสำคัญ เมืองศูนย์กลางคือราชคฤห์มีพ่อ ค้าคหบดี (อมิตโภคา มหาปุญฺญฺา) ผู้สร้างเศรษฐกิจให้รุ่งเรืองในเมืองนี้มีถึง ๕ คน พระเจ้าปเสน ทิโกศลจึงขอตระกูลคหบดีจากราชคฤห์ให้ไปพัฒนาเศรษฐกิจที่สาวัตถี ธนัญชัยเศรษฐีปู่นางวิสาขา ย้ายจากราชคฤห์ไปอยู่ที่สาเกต สร้างเมืองเศรษฐกิจขึ้นมา ต่อมาเศรษฐกิจเมืองสาวัตถีมั่นคงกว่า เศรษฐกิจเมืองราชคฤห์ ข้าวเปลือก ๔ ทะนานของชาวมคธ เท่ากับข้าวเปลือก ๑ ทะนานของชาว
โกศล

      ยุคนั้นมีการก่อตั้งสหกรณ์ถึง ๑๘ ประเภท คือ ช่างไม้ ช่างโลหะ ช่างศิลา ช่างทอ ช่าง ทำหนัง ช่างหม้อ ช่างทำงา ช่างย่อมผ้า ช่างทำเพชรพลอย ชาวประมง คนขายเนื้อ นายพราน และคนดักสัตว์ พ่อครัว คนขายขนมหวาน ช่างตัดผมและช่างทำยาสระผม ช่างร้อยพวงมาลัย และคนขายดอกไม้ ลูกเรือ ช่างทำเครื่องหวาย และช่างสานตะกร้า และช่างทาสี

      การดำเนินชีวิตในสังคมต้องมีวิชาความรู้ (ศิลปะ) แบ่งวิชาความรู้ตามสถานะคน มี ๒ ประเภท  ได้แก่ วิชาชั้นต่ำ กับ วิชาชั้นสูง วิชาชั้นสูง มี ๑๐ วิชา เช่นวิชากฎหมาย แบ่ง อาชีพออกเป็นอาชีพชั้นต่ำสำหรับสามัญชน เช่น อาชีพถากไม้ กับอาชีพชั้นสูง ได้แก่ อาชีพทำนา อาชีพค้าขาย วิชาชีพสำหรับข้าราชการต้องอาศัยความชำนาญมีมากกว่า ๒๐ วิชาชีพ เช่น วิชาพลช่าง ในวินัยปิฎกระบุอาชีพมากกว่า  อาชีพ ในมิลินทปัญหา ระบุมากกว่า ๘๐ อาชีพ

สรุป
      ผ่านมาหลายร้อยปี ชาวพุทธ(ไทย)ซึมซาบอุดมคติพระพุทธศาสนาในคัมภีร์มาต่อเนื่อง คุ้นเคยจนชินชา บางครั้งค่านิยมไม่ปล่อยให้คิดอย่างอิสระ ทว่าตอนนี้ความรู้ความเข้าใจอุดมคติ ด้านเดียวคงไม่สนองการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปรไป อย่างปมปัญหาในพุทธประวัติ กล่าวคือ ไม่ว่าพระ ศาสดาหรือผู้เกี่ยวข้องพระองค์ มักมีประวัติเหนือเมฆพ้นวิสัยสามัญ ลักษณาการของพระพุทธเจ้า บรรยายด้วยลักษณาการเทวดา เช่นบรรยายว่าเทวดาไม่ตัดผมไม่โกนหมวด  (เทวานํ ปน เกส มสฺสุกรณกมฺมํ นตฺถิ) เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงออกผนวช ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเมาลีสั้นเพียง ๒ องคุลีอยู่ไปตลอดพระชนมชีพ (เตสํ ยาวชีวํ ตเทว ปมาณํ อโหสิ. มสฺสุ จ ตทนุรูปํ, ปุน เกสมสฺสุ โอหารณกิจฺจํ นาม นาโหสิ) ไม่ต้องถามอีกว่าใครเป็นกัลบกผู้ตัดพระเกสา (ชาดก กับ มหาวัสดุ มีเบาะแสว่ากัลบกประจำพระองค์ คือท่านพระอุบาลี)

     บ่อยครั้ง บรรยายพุทธประวัติด้วยวิธีการที่พราหมณ์ใช้อ้างจำนวนปีหลายสิบปีหรือหลาย ร้อยปี อ้างจำนวนคนมากมายแห่แหนแวดล้อม คนจำนวนมากหันมานับถือพรรณนาระยะทาง แสนไกลหลายร้อยหลายพันโยชน์ บรรยายสรีระของผู้มีบุญญาธิการ องอาจสูงใหญ่ การอ้างตัว เลขจำนวนมากมาย หรืออ้างเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์ เป็นวิธีเชิดชูเกียรติยศให้เห็นความ ยิ่งใหญ่อลังการ ทว่าสาระอยู่ที่คำสอน ไม่ใช่จำนวนตัวเลขหรือความอัศจรรย แต่มีคนไม่น้อยติด ที่ความอลังการ เข้าไม่ถึงคำสอน ความยิ่งใหญ่อลังการเกิดจากศรัทธา ศรัทธาไม่ชอบอธิบายเชิง เหตุผล  

     เมื่อทราบจุดหมายแห่งศรัทธา แต่หาเหตุผลมาอธิบายปรากฏการณ์ยังไม่ได้ จึงต้องว่า ตามกันไป จนกว่ามีข้อมูลที่ดีกว่า

     พระพุทธเจ้าทรงอุบัติท่ามกลางการปกครอง การศึกษา การดำเนินชีวิตของคนโลภ์โมห์ โทสัน บางครั้ง พระองค์ถูกกลั่นแกล้ง ถูกลอบทำร้าย ถูกใส่ความว่าร้าย แต่ปฏิบัติหน้าที่ผู้สอน ธรรมอย่างองอาจ

     ในสังคมที่มีความรุนแรง แม้พระองค์ไม่แสดงสิ่งเหนือวิสัยก็ประกาศคำสอนได้ คัมภีร์ มักระบุว่า พระองค์แสดงสิ่งเหนือสามัญวิสัย บางครั้งเสด็จไปโลกอื่น “เหมือนคู่แขนเข้า หรือเหยียด แขนออก” อรรถกถา ระบุว่า “พระโพธิสัตว์เสด็จไปเทวโลก ๔ ครั้ง” (มนุสฺสตฺตภาเวน...เทวโลกํ คโต ) ท่านพุทธทาสภิกขุ มองเรื่องนี้ว่า “มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีในพุทธศาสนาของเรา เพราะ ว่าในศาสนาอื่น ๆ หรือแม้ว่าไม่เกี่ยวกับศาสนาเป็นลัทธิอื่นนั้น เขาจะมีว่าศาสดาของเขา หรือ บุคคลสำคัญของเขาต้องเคยขึ้นไปบนเทวโลกทั้งนั้น แล้วในฝ่ายพุทธศาสนาถ้าพูดว่าเราไม่มีแล้ว มันก็แย่..” สิ่งเหนือสามัญ นำไปสู่การสร้างสรรค์คุณความดี เป็นเครื่องประโลมใจ พระพุทธเจ้า ไม่ปฏิเสธสิ่งเหนือสามัญ หรือ อิทธิปาฏิหาริย์ แต่ทรงเห็นความสำคัญอนุสาสนีปาฏิหาริย์มากกว่า ทรงสรรเสริญคำสอนที่มีความอัศจรรย์มากกว่าฤทธิ์เดชที่น่าอัศจรรย์ ทว่าฤทธิ์เดชน่าอัศจรรย์มอง เห็นได้ง่ายกว่าคำสอนที่มีความอัศจรรย์ แม้ผ่านพุทธกาล เลยกึ่งพุทธกาลมาแล้ว ผู้คนยังให้ความ สำคัญต่ออำนาจฤทธิ์เดชเวทมนตร์ มากกว่าสัมฤทธิผลแห่งคำสอน

      อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์คำสอน ควรรู้ปรากฏการณ์สังคม เพื่อค้นหาตัวแปร ยืนยันว่า  “5Q” ทั้ง IQ. EQ. AQ. TQ. และ MQ. มีครบในพระไตรปิฎก สมกับที่ผู้รู้ บอกว่า พระไตรปิฎก เป็น คลังวรรณคดี “a vast body of Literature”
 
      ภาพแห่งความรุ่งเรือง เมืองโบราณและพุทธสถานในคัมภีร์ จัดอยู่ในประเภท “AQ” รู้ ไว้เพื่อปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง จนสามารถมีชีวิตอยู่ภายใต้สภาวะความกดดันต่อไปได้
 
      ปรากฏการณ์ในอดีตสะท้อนอนิจลักษณะ ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งส่งผลไปยังปรากฏการณ์ อย่างอื่น ไม่ว่า เป็นนักวรรณคดี ชาวบ้าน หรือชาววัด เมื่อตระหนักรู้อนิจจังก็ต้องพยายามควบ คุมกำหนดทิศทางเอาไว้บ้าง จะได้ช่วยอนิจจังให้เป็นไปทางสร้างสรรค์ กลายเป็นความรุ่งเรืองขึ้น มา ซึ่งก็เป็นลักษณะแห่งอนิจจังด้วยเหมือนกัน
 


(ที่มา: สารนิพนธ์)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕