หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวิทูรย์ ฐานงฺกโร (เจือจันทร์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๔ ครั้ง
ศึกษาการอบรมเลี้ยงดูของชาวพุทธที่มีต่อความเชื่อในการให้ทาน และการให้ความช่วยเหลือต่อผู้อื่น : กรณีศึกษาอุบาสก อุบาสิกา ที่มาปฏิบัติธรรมในวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : พระวิทูรย์ ฐานงฺกโร (เจือจันทร์) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
  เริงชัย หมื่นชนะ
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

              วิทยานิพนธ์ เรื่อง การอบรมเลี้ยงดูของชาวพุทธที่มีต่อความเชื่อในการให้ทานและพฤติกรรมการช่วยเหลือต่อผู้อื่น   มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย  ๑)  เพื่อศึกษาการอบรมเลี้ยงดูของชาวพุทธ :  กรณีศึกษา อุบาสก อุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  กรุงเทพมหานคร  ๒)  เพื่อศึกษาความเชื่อในการให้ทาน และพฤติกรรมการช่วยเหลือต่อผู้อื่น:  กรณีศึกษา อุบาสก อุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  กรุงเทพมหานคร  ๓)  เพื่อเปรียบเทียบการอบรมเลี้ยงดูของชาวพุทธกับ ความเชื่อในการให้ทาน และพฤติกรรมการช่วยเหลือต่อผู้อื่น :  กรณีศึกษา อุบาสก อุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  กรุงเทพมหานคร  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  ๔)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูของชาวพุทธต่อความเชื่อในการให้ทาน และพฤติกรรมการช่วยเหลือต่อผู้อื่น :  กรณีศึกษา อุบาสก อุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  กรุงเทพมหานคร จำแนกตามข้อมูลทั่วไป

              กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อุบาสก อุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  กรุงเทพมหานคร  จำนวน  ๒๒๒  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test)และค่าเอฟ(F-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

 

ผลการวิจัยพบว่า

              ๑. อุบาสก  อุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง ๑๗๐ คน (๗๕.๕๘%) มีอายุระหว่าง ๒๐ ๓๐ ปี ๖๔ คน (๒๘.๘๒%) มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป ๑๓๕ คน (๖๐.๘๒%) อาชีพเป็นลูกจ้างทั่วไป ๖๕ คน (๒๙.๒๘%) มีประสบการณ์ปฏิบัติธรรมต่ำกว่า ๑ ปี ๑๐๔ คน (๔๖.๘๕%) มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว ๖ คนขึ้นไป ๗๖ คน (๓๔.๒๓%) และมีลำดับการเกิดเป็นบุตรคนที่  ๑ จำนวน ๗๒ คน (๓๒.๔๓%)

              ๒. การอรบรมเลี้ยงดูของอุบาสก  อุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในวัดราชโอรสารามราช  โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๑๙  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า พ่อแม่สอนให้มีความตั้งใจในการแสวงหาความรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ  .๘๒  ดังนั้นพ่อแม่ที่ให้การอบรมเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมให้เป็นคนดีมีคุณธรรมตามแนวพุทธ  เป็นพ่อแม่ที่มีลักษณะทางพุทธสูง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการดำเนินชีวิตประจำวันตามวิถีทางแบบพุทธ  ที่สำคัญคือ  ยึดมั่นในการปฏิบัติตนตามหลักธรรมพื้นฐาน อันได้แก่   การบริจาคทาน   การรักษาศีลห้าและหมั่นปฏิบัติสมาธิภาวนา  เป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดีและให้การปฎิสัมพันธ์กับบุตรอย่างใกล้ชิดและมีคุณภาพ

              ๓.อุบาสก อุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร  มีเพศ  อายุต่างกัน  มีความเชื่อในการให้ทานและพฤติกรรมการช่วยเหลือต่อผู้อื่นแตกต่างกันโดยภาพรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันด้านความเชื่อในการให้ทานและความเชื่อด้านสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และ ๐.๐๕

              ๔. อุบาสก อุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร  มีประสบการณ์ปฏิบัติธรรมต่างกัน  มีความเชื่อในการให้ทานและพฤติกรรมการช่วยเหลือต่อผู้อื่นแตกต่างกันโดยรายด้านมีความแตกต่างกันด้านความเชื่อด้านจิต-ปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕    

              ๕. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู แบบประชาธิปไตย  แบบรักสนับสนุน และแบบพุทธที่มีผลต่อความเชื่อในการให้ทาน  และพฤติกรรมการช่วยเหลือต่อผู้อื่น  พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก   ฉะนั้น การบรมเลี้ยงดูแบบสนับสนุน แบบประชาธิปไตย และแบบพุทธ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกฝังความเชื่อการให้ทานและพฤติกรรมการช่วยเหลือต่อผู้อื่น

 

ดาวน์โหลด 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕