หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวชิรธรรมารม (วิเชียร ชินทตฺโต)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
ศึกษารูปแบบและคุณค่าของอุโบสถในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวชิรธรรมารม (วิเชียร ชินทตฺโต) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบาง เขมานนฺโท, ดร. ป.ธ.๕, M.A. (Bud.), M.A. (Phil.),Ph.D.(Phil.)
  พระมหาบาง เขมานนฺโท, ดร. ป.ธ.๕, M.A. (Bud.), M.A. (Phil.),Ph.D.(Phil.)
  พระมหาบาง เขมานนฺโท, ดร. ป.ธ.๕, M.A. (Bud.), M.A. (Phil.),Ph.D.(Phil.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                        วิทยานิพนธ์เรื่อง   ศึกษารูปแบบและคุณค่าของอุโบสถในพระพุทธศาสนาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ   คือ ๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาของพระอุโบสถในพระพุทธศาสนา         ๒)  เพื่อศึกษารูปแบบของพระอุโบสถในประเทศไทย  ๓)  เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของพระอุโบสถในสังคมไทยปัจจุบัน

 

 ผลของการวิจัยพบว่า  

                        รูปแบบอุโบสถที่ทำการศึกษา  ประกอบด้วยรูปแบบการสร้างจากทั้งสี่ภาคของประเทศไทย  โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแบบเจาะจงจากการออกภาคสนาม และข้อมูลด้านปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ โดยสรุปมี ๑๕ รูปแบบ ซึ่งรูปแบบของพระอุโบสถในพระพุทธศาสนาเถรวาท  เป็นสถาปัตยกรรมของไทยในอดีตล้วนเป็นรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามสภาพของความเปลี่ยนแปลงและกาลเวลา  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์นั้นเป็นอย่างไร  หรือขึ้นอยู่กับความคิดร่วมกับเจ้าอาวาสแต่ละวัดของชุมชนนั้น ๆ

                        การวิเคราะห์คุณค่าของพระอุโบสถ  ที่มีความสำคัญต่อสังคมไทยในด้านการทำสังฆกรรม  ตามพระธรรมวินัย มี 4 อย่าง คือ  1.) อปโลกนกรรม การปรึกษาหารือ  2. ) ญัตติ สวดเผดียงสงฆ์ (การประชุมที่มีการสวดตั้งเรื่องที่จะประชุม) 3. )ญัตติทุติยกรรมวาจา สวดตั้งญัตติ และสวดอนุสาวนา (ถามความเห็นที่ประชุม) 4 . )ญัตติจตุตถกรรมวาจา สวดตั้งญัตติและสวดกรรมวาจาถึงสามครั้ง ซึ่งผู้ที่จะสร้างพระอุโบสถให้สำเร็จต้องมีอธิษฐานธรรมอยู่ในใจ    ข้อ คือ ปัญญา  สัจจะ  จาคะ และอุปสมะ   ด้านความดี  คุณความดีที่ทำไว้ที่ส่งผลให้ในปัจจุบันชาติและอนาคตชาติที่ได้สร้างไว้ ด้วยการบริจาคทรัพย์ที่มีอยู่  สร้างพระอุโบสถเสนาสนะในอารามต่าง ๆ ผู้ที่บำเพ็ญกุศลย่อมได้รับบุญมาก  คือ  ผลแห่งบุญ    ประการ  คือ  ๑)  กิตติสัทโท  ชื่อเสียงย่อมฟุ้งขจรไป  ๒)  วิสาระโท  เป็นคนแกล้วกล้าอาจหาญในการเข้าในสมาคม  ๓)  ปิโย  เทวะมนุสสานัง  เป็นที่รักใคร่ของคน  และมนุษย์ทั้งหลาย  ๔)  อลัมมุฬโห  กาลัง  กโต  เป็นผู้ไม่หลงทำกาละ (สิ้นชีวิต)  ๕)  สุคติปรายโน  เป็นชนผู้มีสุคติเป็นเบื้องหน้า

ดาวน์โหลด 

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕