หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » มัณฑนา ปรียวนิตย์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๑ ครั้ง
การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต ๑
ชื่อผู้วิจัย : มัณฑนา ปรียวนิตย์ ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ. ดร. สมศักดิ์ บุญปู่ ป.ธ.๔, พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  พระมหาสหัส ฐิตสาโร, ผศ. ป.ธ.๔, พธ.บ., M.A.(Public.Admin.)M.A. (Bud.St.)
  ผศ.บุญเลิศ จีรภัทร์ วท.บ., พม.ม. (พัฒนาการเศรษฐกิจ)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                      การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ตามหลักอิทธิบาท  ๔ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี               เขต ๑ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ๖๒ คนและครู ๒๗๔ คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-Way ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  

                       

                      ผลการวิจัย

                      ๑. การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต ๑ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น                รายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยตามค่าเฉลี่ย คือ หลักการบริหารแบบวิมังสา (การทบทวนเพื่อปรับปรุง) หลักการบริหารแบบจิตตะ(การวัดและประเมินผล) หลักการบริหารแบบวิริยะ (การปฏิบัติตามแผน) และหลักการบริหารแบบฉันทะ (การวางแผน)

                      ๒. ผลการเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ตามหลักอิทธิบาท ๔ ของผู้บริหารและครูจำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

                      ๓. ผลการเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ตามหลักอิทธิบาท ของผู้บริหารและครู จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์การปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้  ผู้บริหารและครู ที่มีอายุ ๔๕ ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ตามหลักอิทธิบาท ๔  ด้านหลักการบริหารแบบฉันทะ (การวางแผน)มากกว่าผู้บริหารและครู ที่มีอายุ ๓๐๔๕ ปี และผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงาน มากกว่า ๒๕ ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นมากกว่าผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงาน ระหว่าง ๑๐-๒๕ ปี และน้อยกว่า ๑๐ ปี ด้านหลักการบริหารแบบฉันทะ (การวางแผน) หลักการบริหารแบบวิมังสา (การทบทวนเพื่อปรับปรุง) และในภาพรวม

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕