หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัฐกานต์ บุญยะดาษ
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๙ ครั้ง
การศึกษาพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในพระราชนิพนธ์ เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน
ชื่อผู้วิจัย : ณัฐกานต์ บุญยะดาษ ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  แสวง นิลนามะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีจุดประสงค์ ๓ ข้อ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระราชพิธีสิบสองเดือน ๒) เพื่อศึกษาพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพระราชพิธีสิบสองเดือน ๓) เพื่อศึกษาคุณค่าของพิธีกรรม ในพระราชพิธีสิบสองเดือนที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยในอดีตและปัจจุบัน

 

             ผลการวิจัยพบว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน เพื่อประโยชน์ทางความรู้สำหรับประชาชนทั้งปวง โดยเฉพาะผู้มีหน้าที่ในการพิธีนั้นๆ เช่น มหาดเล็ก รวมถึงคนทั้งหลายที่จะได้ความรู้ต่อไปภายหน้า ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ในแต่ละเดือน ลงในหนังสือพิมพ์วชิรญาณ กำหนดให้ออกทุกๆสัปดาห์จนครบหนึ่งปี ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ความมุ่งหมายและความสำคัญในการปฎิบัติพระราชพิธีสิบสองเดือนในสมัยโบราณนั้น ก็เพื่อแผ่พระเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่ประจักษ์ และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่พระนคร และอาณาประชาราษฏร์ รวมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นทางจิตใจให้กับสังคมในยุคนั้น

             พิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาในพระราชพิธีสิบสองเดือน  เดิมมาจากศาสนาพราหมณ์ และจากพระพุทธศาสนา แต่มีบางพิธีมาจากต้นเหตุทั้งสองนี้ ในสมัยอดีตพระเจ้าแผ่นดิน และชาวพระนครนับถือศาสนาพราหมณ์ ครั้นต่อมาเมื่อชาวไทยหันมานับถือพระพุทธศาสนา ไม่ได้มีฤกษ์และพิธีใดๆ เข้ามาปะปน ดังนั้นประชาชนจึงนำเอาพิธีต่างๆ ในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งไม่ขัดต่อคติทางพระพุทธศาสนามาใช้ปฏิบัติแทรกไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางใจ ดังที่เคยเชื่อถือมาก่อนแล้ว

             คุณค่าพิธีกรรม ศาสนาพราหมณ์แหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาดั้งเดิมในชนเผ่าอารยัน ซึ่งมีความเชื่อเรื่องพระเจ้าหลายองค์ โดยเฉพาะตรีมูรติ (พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ) หลังจากนั้นเมื่อศาสนิกหันมานับถือศาสนาฮินดู จึงเรียกรวมกันว่าพราหมณ์-ฮินดู  คุณค่าทางพิธีกรรมในพระราชพิธีสิบสองเดือน ได้ผสมผสานกับพระพุทธศาสนาอย่างกลมกลืน และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไทย

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕