หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสังฆรักษ์พีรยุทธ ญาณวโร (อ่อนคูณ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
ศึกษาสติและสัมปชัญญะในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสังฆรักษ์พีรยุทธ ญาณวโร (อ่อนคูณ) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุรชัย วราสโภ
  ณัทธีร์ ศรีดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสติและสัมปชัญญะในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท  (๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับสติและสัมปชัญญะในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท  (๓)  เพื่อศึกษาความสำคัญของการใช้สติและสัมปชัญญะในการดำเนินชีวิต โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่พระไตรปิฎก  อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยการเรียบเรียง บรรยาย และตรวจสอบ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ

             จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า สติและสัมปชัญญะ  คือความระลึกได้  ความไม่เผลอ การควบคุมจิต หรือความไม่ประมาท  เป็นธรรมมีอุปการะมาก นั่นก็คือมีสติสัมปชัญญะอยู่กับทวาร ทั้ง ๖  คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในขณะที่มีอารมณ์มากระทบ หรือในขณะ พูด ทำคิด สติและสัมปชัญญะที่ได้จากการพิจารณาการปฏิบัติให้รู้เท่าทันกาย สุข ทุกข์ อุเบกขาอารมณ์ทางใจธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลว่าเป็นเพียงสมมติ ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เราไม่ยั่งยืน เกิดขึ้นมาแล้วเสื่อมสลายไป  สติสัมปชัญญะจะมีหน้าที่เหมือนนายประตูเฝ้าคอยตรวจดูอารมณ์และจิตที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จนสามารถกลั่นกรองความชั่วจากคำพูด การกระทำให้ลดน้อยลงจนเป็นอิสระจากตัณหา อุปาทาน

             หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับสติและสัมปชัญญะ คือ สติปัฏฐาน ๔ สตินทรีย์ สติสัมโพชฌงค์ สัมมาสติ สติพละ สติวินัย ศีล สมาธิ ปัญญา หิริโอตัปปะ และหลักธรรมที่สนับสนุนให้สติสัมปชัญญะ คือ ภาวนา และ อัปปมาทธรรม ส่วนอกุศลธรรมที่เป็นข้าศึกคือ ความประมาท และโมหะ ความหลง

             ความสำคัญของการใช้สติและสัมปชัญญะในการดำเนินชีวิต คือการฝึกจิตให้รู้อยู่ปัจจุบันขณะ ซึ่งสัมผัสกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในและรอบๆตัว การควบคุมอารมณ์ที่ไม่น่าปราถนามากระทบจิต คือการเจริญสติสัมปชัญญะ ซึ่งมีประโยชน์ทางด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญา และทางสังคม คือสติ ซึ่งทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ด้วยความรัก ความเมตตากรุณา

             จากการศึกษาความสำคัญของการใช้สติสัมปชัญญะในการดำเนินชีวิต พบว่า สติและสัมปชัญญะเป็นรากฐานที่แท้จริงในการแก้ปัญหา ในทุกระดับ ช่วยให้มนุษย์สร้างสรรค์ประโยชน์สุขที่แท้ให้กับสังคมได้มากขึ้น ผู้ที่เจริญสติสัมปชัญญะจนบรรลุถึงขั้นสูงสุดได้ ชื่อว่าเป็นผู้บรรลุถึงประโยชน์แห่งตน และไม่มีกิจอื่นที่ต้องทำเพื่อตนเอง เพราะตัณหา การปฎิบัตินี้ช่วยคุณประโยชน์ในการดำเนินชีวิต

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕