หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาบรรยงค์ จนฺทเมธี (บุญเถื่อน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๗ ครั้ง
การจัดสวัสดิการสังคมตามแนวคิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ของคณะกรรมการบริหาร ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาบรรยงค์ จนฺทเมธี (บุญเถื่อน) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสม กลฺยาโณ
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  ๑) เพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการสังคมตามแนวคิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ของคณะกรรมการบริหาร ตำบลปัถวี  อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี  ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดสวัสดิการสังคมตามแนวคิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์
ของคณะกรรมการบริหาร ตำบลปัถวี  อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี  ๓) เพื่อแสวงหาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดสวัสดิการสังคมตามแนวคิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ของคณะกรรมการบริหาร ตำบลปัถวี  อำเภอมะขาม  จังหวัดจันทบุรี  

 

การศึกษาครั้งนี้  เป็นวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology Research) คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามถึงระดับการจัดสวัสดิการให้แก่คณะกรรมการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ จากประชากรกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๘๐ คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของประชากร คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s post hoc comparison) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๖   คน โดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท (Content Analysis Technique)

ผลการวิจัยพบว่า

               ๑. การจัดสวัสดิการสังคมตามแนวคิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ของคณะกรรมการบริหารตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ทั้ง ๖ ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าอยู่ในระดับมาก ด้านกองทุนหมุนเวียน รองลงมา คือ  ด้านทุนการศึกษา ด้านค่าฌาปนกิจ  ด้านการจัดการสวัสดิการ  ด้านรายได้ของกลุ่ม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ  ด้านค่ารักษาพยาบาล ตามลำดับ

 

๒. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คณะกรรมการที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ตำแหน่งในชุมชน และปัจจัยแวดล้อม ด้านการตั้งกฎระเบียบภายในกลุ่ม การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม  หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุน และการยึดหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารกลุ่ม ต่างกัน  มีผลต่อการได้รับสวัสดิการสังคมตามแนวคิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ แต่คณะกรรมการที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และเพศ ต่างกัน มีผลต่อการได้รับสวัสดิการสังคมตามแนวคิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  ซึ่งแย้งกับสมมติฐานที่ว่า ประชาชนที่เป็นคณะกรรมการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ในตำบลปัถวี อำเภอมะขาม  จังหวัดจันทบุรี ทั้ง ๕ กลุ่ม ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล อันได้แก่ อายุ  เพศ  ระดับการศึกษา  ตำแหน่งในชุมชน และรายได้ต่อเดือน  และปัจจัยแวดล้อม ได้แก่ การตั้งกฎระเบียบภายในกลุ่ม การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม  หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุน และการยึดหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารกลุ่ม  มีการได้รับสวัสดิการตามแนวคิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี แตกต่างกัน

 

๓. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาจัดสวัสดิการสังคมตามแนวคิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ของคณะกรรมการบริหาร ตำบลปัถวี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี พบว่า ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดการสวัสดิการของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ของคณะกรรมการบริหารตำบลปัถวี  อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรีกับกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์กลุ่มอื่นๆ ในจังหวัดจันทบุรี ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการจัดสวัสดิการของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ในตำบลปัถวี  อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี และควรศึกษาผลของการจัดสวัสดิการของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ในชุมชนอื่น ๆ

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕