หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวงศกร สุเมโธ (เทพพนมพร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของพระธาตุอิงฮังที่มีต่อวิถีชีวิตของประชาชน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่อผู้วิจัย : พระวงศกร สุเมโธ (เทพพนมพร) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
  พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของพระธาตุอิงฮังที่มีต่อวิถีชีวิตของประชาชน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของพระธาตุเจดีย์ตามแนวทางพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาความเป็นมาและอิทธิพลของพระธาตุอิงฮังที่มีต่อชาวแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของพระธาตุอิงฮังที่มีต่อวิถีชีวิตของประชาชน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว

          ผลการวิจัยพบว่า ชาวพุทธเชื่อว่าพระธาตุเจดีย์เป็นองค์แทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การแสดงความเคารพนับถือต่อพระธาตุเจดีย์เท่ากับการแสดงออกต่อพระพุทธเจ้า การสร้างพระธาตุเจดีย์จึงถือเป็นประเพณีนิยมสำหรับชาวพุทธศาสนิกชน เพื่อใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

          พระธาตุอิงฮัง มีความเป็นมาเชื่อมโยงกับสมัยพุทธกาลที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาในบริเวณที่ก่อสร้างพระธาตุ โดยสร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน เพราะได้มีการบูรณะมาหลายยุคสมัย ซึ่งเป็นพระธาตุสำคัญที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี จิตใจและปัญญา ของประชาชนชาวสะหวันนะเขตและชาวลาวทั่วประเทศ

          ผลการวิเคราะห์ความสำคัญของพระธาตุอิงฮังที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของประชาชน  ชาวสะหวันนะเขต จำแนกออกเป็น ๔ ด้าน ดังนี้ ๑) กายภาวนา คือ ความสำคัญด้านกายภาพ        ๒) ศีลภาวนา คือ ความสำคัญด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ๓) จิตรภาวนา คือ ความสำคัญด้านจิตใจ  ๔) ปัญญาภาวนา คือ ความสำคัญด้านปัญญา

          คำสำคัญ : ศึกษาวิเคราะห์/ความสำคัญ/พระธาตุอิงฮัง/วิถีชีวิต

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕