หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูกันตธรรมโกวิท (บัณฑิต ปิยธมฺโม/เครือวงศ์น้อย)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
ศึกษาการสอนวิปัสสนากรรมฐานของครูบาเจ้าเกษม เขมโก
ชื่อผู้วิจัย : พระครูกันตธรรมโกวิท (บัณฑิต ปิยธมฺโม/เครือวงศ์น้อย) ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บุณชญา วิวิธขจร
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2561
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ๒ ประการ คือ เพื่อศึกษาการสอนวิปัสสนากรรมฐาน ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาการสอนวิปัสสนากรรมฐาน ของครูบาเจ้าเกษม เขมโก สำนักปฏิบัติธรรมสุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา และตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ

จากการศึกษา พบว่า การสอนวิปัสสนากรรมฐาน ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท สอนให้รู้แจ้งรู้ชัดในรูปนาม มีสติกำหนดรู้ในกาย รู้เวทนา รู้จิตและรู้ธรรม พิจารณาให้เห็นเป็นไตรลักษณ์จนสามารถก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เมื่อปฏิบัติตามจะเกิดมรรคญาณ ผลญาณไปสู่นิพพานได้

การสอนวิปัสสนากรรมฐานของหลวงพ่อเกษม เขมโก  มี ๑๐ วิธี คือ ๑) การปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง ๒) การแสดงพระธรรมเทศนา ๓) การสอนเป็นรายบุคคล ๔) การสอนแบบอุปมาอุปไมย ๕) การใช้ปฏิภาณโต้ตอบด้วยมุขขำขัน ๖) การตอบปัญหาธรรมะ ๗) การสอนผ่านสื่อโดยการรวบรวมข้อคิดในหลักธรรมเพื่อเผยแผ่ ๘) การสนทนาธรรม ๙) ภาษิตธรรมถวายในหลวง ๑๐) อัตตโนภาษิตและคติธรรมของหลวงพ่อเกษม เขมโก ด้วยเน้นการสอนด้วยวิธีฝึกฝนตนเองก่อน การปฏิบัติถึงขึ้นอุกฤษฎ์อย่างเคร่งครัด การสอนและการเผยแผ่นั้นจะดูสภาวะจิตของผู้ปฏิบัติ หากมีสภาพธรรมอินทรีย์สมบูรณ์ ก็จะแนะนำเป็นรายบุคคล และปฏิบัติโสสานิกธุดงค์ใช้องค์ธรรมคือสติปัฏฐาน ๔ จนเกิดปัญญา ซึ่งตรงตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าจนเห็นแจ้งตามความเป็นจริงในพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นที่สุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕