หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางวนิดา ฉายาสูตบุตร
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๑ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระนางสามาวดีที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : นางวนิดา ฉายาสูตบุตร ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  ดร. วีรชาติ นิ่มอนงค์
  อาจารย์รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ เมษายน ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

      วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติของพระนางสามาวดีและความสัมพันธ์ของพระนางสามาวดี กับบุคคลสำคัญในพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพระนางสามาวดี ที่มีต่อพระพุทธศาสนาในฐานะเอตทัคคะด้านเมตตา และ(๓) เพื่อประยุกต์รูปแบบการเจริญเมตตาของพระนางสามาวดี เพื่อแก้ปัญหาชีวิต และสังคมการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารซึ่งมีวิธีการที่เน้นการวิจัยตามกรอบของการศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระนางสามาวดี ในกรณีการเจริญเมตตาจิต โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชีวประวัติ และผลงานของพระนางสามาวดี ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเรียบเรียงและนำเสนอผลการวิจัย
      ผลการวิจัยพบว่าพระนางสามาวดีเกิดในตระกูลเศรษฐีแต่เมื่อเติบโตขึ้นพระนาง

ต้องประสบกับชะตากรรมที่มีทั้งความสุขและความทุกข์ แต่ไม่ได้ย่อท้อ และได้ใช้คุณธรรม
ด้านเมตตาช่วยแก้ปัญหาในชีวิตของพระนางและบริวาร พระนางยังได้บรรลุโสดาบันด้วยการฟังธรรมจากนางขุชชุตตราหญิงบริวารของพระนางพระนางสามาวดี นอกจากจะมีคุณสมบัติพิเศษ คือเป็นเอตทัคคะด้านเมตตาแล้ว
พระนางยังเป็นผู้มีความกตัญญู เป็นผู้ฝักใฝ่ธรรม และไม่ประมาท ชีวิตของพระนางสามาวดี
ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลต่างๆ มากมาย ตั้งแต่พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ พระเจ้าอุเทนโฆสกเศรษฐี พระนางมาคันทิยา นางขุชชุตตรา และที่สำคัญ คือ พระนางเป็นผู้ชักนำให้พระเจ้าอุเทน ผู้เป็นพระสวามี ศรัทธาเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา และเป็นอุบาสกที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในโอกาสต่อมาพระนางสามาวดี มีบทบาทในการอุปถัมภ์พระศาสนา โดยการถวายทานการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพุทธศาสนา ในส่วนของการดำเนินชีวิตของพระนางสามาวดีนั้นพบว่า เมตตาธรรมเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมรูปแบบการเจริญเมตตาจิตของพระนางสามาวดี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตและสังคมได้ โดยต้องพัฒนาให้มีเมตตาเป็นคุณธรรมอยู่ภายในจิตใจของตนก่อน เพื่อให้เป็นพื้นฐานในการมีเมตตาจิตต่อผู้อื่น ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้สามารถแก้ปัญหาชีวิตและสังคมได

Download : 255174.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕