หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูอินทสารวิจักษ์ อินฺทสโร (กิจไร่)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
การรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรและธรรมโอสถที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูอินทสารวิจักษ์ อินฺทสโร (กิจไร่) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ
  รศ. อุดม บัวศรี
  ดร. อุดร จันทวัน
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ เมษายน ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายาสมุนไพรที่ปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา และจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงความเจ็บป่วยหรือโรคเป็น ๒

ประเภท คือ โรคทางกายและโรคทางใจ
๑. โรคทางกายได้แก่ โรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น
โรคปวดศีรษะ โรคเจ็บตา โรคหิด โรคทางกายนี้มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
และความไม่สมดุลของธาตุทั้ง ๔ โรคบางอย่างไม่ได้บอกวิธีการรักษาไว้ เช่น โรค
ลมบ้าหมู โรคหืด แต่โรคบางอย่างบอกชื่อและวิธีการรักษาไว้ ได้แก่ โรคริดสีดวงทวาร
โรคท้องร่วง เป็นต้น
๒. โรคทางใจเกิดจากการที่จิตใจถูกครอบงำด้วยอุปกิเลสอาสวะ คือ ความโลภ
ความโกรธและความหลง ความเสียใจ ที่เกิดจากการพลัดพรากจากของที่รักที่ชอบใจ ความ
คับแค้นใจ และความเจ็บป่วยที่มีในกายเพราะทำให้เกิดความทุกข์ทางใจ
ในพระพุทธศาสนามีหลักในการรักษาโรคที่เกิดจากการเจ็บป่วยมี ๒ แนวทาง
ด้วยกัน คือ การรักษาด้วยยาสมุนไพรและการรักษาด้วยธรรมโอสถ๑. สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคของภิกษุนอกจากเภสัชทั้ง ๕ แล้วที่ปรากฏใน
พระไตรปิฎกยังประกอบด้วยพืชต่าง ๆ เช่น รากไม้ ใบไม้ ผลไม้ ยางไม้ น้ำฝาด เกลือ มูล
โค น้ำมันเหลวที่ได้จากสัตว์ เนื้อดิบ เลือดสด มูตร คูถ เถ้า ดิน สัตว์ แร่ธาตุ สิ่งเหล่านี้
ล้วนได้มาจากธรรมชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายใน และมนุษย์ก็สามารถนำเอามาทำเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ และบำรุงร่างกายได้การรักษาด้วยยาสมุนไพร โดยการใช้สมุนไพรหลายชนิดผสมกันหลายอย่างมีทั้งใช้รับประทาน ใช้ทา ใช้หยอด ใช้นัตถุ์ยาหรือการสูดดมควัน ตลอดจนการใช้หยอดเข้า
ทางช่องจมูกการรักษาด้วยการผ่าตัด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเนื้องอกในลำไส้ การรักษาด้วยการ
ระบายโลหิตออกด้วยเขาสัตว์และการรัดหัวไส้
๒. การรักษาโรคทางใจนั้นนอกจากรักษาด้วยโพชฌงค์ ๗ และสัญญา ๑๐
ควบคู่กับการทำสมาธิเพื่อให้จิตสงบแล้วยังมีธรรมโอสถที่เรียกว่า “สัปปายะ ๗” คือ ๑ ที่อยู่
เหมาะสม, ๒ สมบูรณ์ด้วยอาหารพอเลี้ยงชีพได้, ๓ พูดคุยเรื่องธรรมิกถาพอประมาณ,
๔ คบท่านที่มีคุณธรรม, ๕ มีอาหารเหมาะแก่ร่างกาย, ๖ อากาศพอเหมาะไม่หนาวไม่ร้อน,
๗ อิริยาบถพอเหมาะเคลื่อนไหวพอดีการรักษาด้วยธรรมโอสถก็เป็นอีกทางหนึ่งในการรักษาโรค นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาสมุนไพรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต เพื่อระงับความทุกข์ที่เกิดจากการเจ็บป่วย
โดยการใช้รักษาโรคควบคู่กันไปจนถึงปัจจุบันผลการวิจัยทำให้รู้ถึงแนวทางการใช้ยาสมุนไพรที่มีปรากฏในครั้งพุทธกาลและได้รู้ถึงวิธีการรักษาโดยการใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคทางกาย การรักษาโรคทางใจโดยการ
ใช้สมาธิบำบัด หรือด้วยการเจริญสติปัฏฐาน พัฒนาสติ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

Download : 255184.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕