หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พรชัย พิญญพงษ์
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
รูปแบบการสร้างเครือข่ายขององค์กรพุทธโลก
ชื่อผู้วิจัย : พรชัย พิญญพงษ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาอดิเดช สติวโร (สุขวัฒนวดี)
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (พรรณา)
  บรรจบ บรรณรุจิ
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

              ดุษฎีนิพนธ์ เรื่องรูปแบบการสร้างเครือข่ายขององค์กรพุทธโลก มีวัตถุประสงค์ของ
การวิจัย ๓ ข้อดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการสร้างเครือข่าย ๒. เพื่อวิเคราะห์การสร้างเครือข่ายขององค์กรพุทธโลก ๓. เพื่อนำเสนอรูปแบบการสร้างเครือข่ายขององค์กรพุทธโลก

ผลของการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการสร้างเครือข่าย ประกอบด้วย ๑) สมาชิกต้องรู้จักรับรู้ข้อมูลที่เหมือนกัน (Common Perception) ๒) สมาชิกต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Common Vision) ๓) การมีความสนใจร่วมกัน หรือคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกเครือข่าย (Mutual interests) ๔) การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย (Stakeholders Participation) ๕) มีการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน (Complementary Relationship) ๖) มีการเกื้อหนุนพึ่งพากัน (Interdependence) ๗) การมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยน (Interaction) เมื่อวิเคราะห์การสร้างเครือข่ายขององค์กรพุทธโลก ทั้ง ๓ องค์กร คือ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (สสวล.) ทำงานร่วมกับสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานาชาติ (สมพน.) และ องค์การพุทธโลก (พล.) พบว่าในทุกองค์กร เป็นเครือข่ายประเด็นกิจกรรม และ เป็นเครือข่ายจัดตั้ง ทุกเครือข่ายมีสมาชิกองค์กรพุทธ และชาวพุทธที่หลากหลาย มีชีวิตชีวา มีสำนักงานใหญ่เป็นศูนย์กลางประสานงานการ และ มีผู้ประสานงานที่ชัดเจน สำหรับรูปแบบการสร้างเครือข่ายขององค์กรพุทธโลก มีองค์ประกอบ ๘ ด้านคือ ทัศนคติที่ดี (Attitude) มีการเรียนรู้พัฒนา (Learning) สร้างคุณค่าความเป็นผู้นำ (Leadership) ดำรงอัตลักษณ์ (Identity) จัดหนักกิจกรรม (Activities) ค้ำจุนสนับสนุน (Nurture) มุ่งมั่นรับผิดชอบ (Commitment) ทุกองค์ประกอบเท่าเทียมกัน (Equality) หรือ รูปแบบพันธไมตรี (ALLIANCE MODEL)

 

องค์กรพุทธทั่วไป สามารถประยุกต์ใช้ รูปแบบพันธไมตรี “ALLIANCE MODEL” เพื่อนำไปขยายเครือข่ายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่สากลได้ เนื่องจากรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้มากที่จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อในการสร้างเครือข่ายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เกิดประโยชน์ต่อชาวโลก ที่จะได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างยั่งยืน

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕