หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมเจต สมจารี (หลวงกัน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๙ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดพุทธภาวะในพุทธปรัชญา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมเจต สมจารี (หลวงกัน) ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๔/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  -
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดพุทธภาวะในพุทธปรัชญา” นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธภาวะในพุทธปรัชญาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธภาวะ ในพุทธปรัชญามหายาน และ ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดพุทธภาวะในพุทธปรัชญาเถรวาทและพุทธปรัชญามหายาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

                 ผลจากการศึกษาพบว่า ในพุทธปรัชญาเถรวาทแนวคิดพุทธภาวะ คือ แนวคิดที่ถือว่าพุทธภาวะปรากฎอยู่ในคุณลักษณะทางกายของมหาบุรุษเท่านั้นเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไปเป็นผลมาจากการบำเพ็ญบารมีและกุศลกรรมที่พระองค์ได้กระทำไว้ขณะเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติและคุณลักษณะทางจิตที่เกิดขึ้นหลังจากได้ทรงตรัสรู้แล้ว ส่วนในพุทธปรัชญามหายานแนวคิด พุทธภาวะ คือ แนวคิดที่ถือว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้วไม่ได้หายไปไหน แต่ยังอยู่ในรูปของกายทิพย์ดำรงอยู่ในดินแดนพุทธเกษตรเพื่อคอยช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์

             ส่วนการวิเคราะห์เพื่อตอบปัญหาว่า แนวคิดพุทธภาวะเป็นอัตตาหรืออนัตตานั้น งานวิจัยนี้ให้เหตุผลว่า แนวคิดเรื่องพุทธภาวะของพุทธปรัชญาเถรวาทมีสภาวะเป็นอนัตตา เพราะอธิบายว่า                 พุทธภาวะหลังปรินิพพานมีสภาพว่างเปล่าไม่มีสภาวะบัญญัติอันใดปรากฏเหลืออยู่ ส่วนในพุทธปรัชญามหายานนั้นมีสภาวะเป็นอตตา เพราะอธิบายสนับสนุนความมีอยู่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายหลังจากปรินิพพานแล้วที่จะต้องดำรงอยู่เป็นนิรันดร์บนดินแดนพุทธเกษตร แต่ก็มีบางทัศนะไม่ได้มองว่าเป็นอัตตาทั้งหมด เพราะมีการอธิบายในลักษณะที่เปิดพื้นที่ไว้สำหรับความเป็นอนัตตาด้วยเช่นกัน            ในส่วนของการวิเคราะห์เกี่ยวกับความมีอยู่ของเป้าหมายสูงสุด พบว่า ไม่ได้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง             เพราะพุทธปรัชญาเถรวาทไม่ยอมรับแนวคิดความมีอยู่ของพุทธภาวะหลังปรินิพพาน แต่พุทธปรัชญามหายานส่วนใหญ่ยอมรับพุทธภาวะที่ดำรงอยู่นิรันดร์บนดินแดนพุทธเกษตร มีบางทัศนะที่มองว่า พุทธเกษตรเป็นที่พักหรือเป็นทางผ่านของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ส่วนเป้าหมายสูงสุดไม่ต่างกัน เพราะต่างก็มุ่งความสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕