หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระทองมี อํสุธโช (แอมไธสง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
ความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชายเลน แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระทองมี อํสุธโช (แอมไธสง) ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  วิวัฒน์ หามนตรี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2562
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความตระหนักรู้ของชุมชนในการจัดการป่าชายเลน แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร , 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชายเลนแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการจัดการป่าชายเลน แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ประชากร คือ บุคคลที่อาศัยอยู่บริเวณซึ่งติดกับป่าชายเลน แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน 6 ชุมชน จำนวน 1,591 คน จากนั้นเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 306 คน เก็บจริง 310 คนโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Random sampling) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (mixed methods) ใช้เชิงปริมาณเป็นตัวตั้งในการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เชิงคุณภาพใช้การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ชาวบ้าน นักศึกษาในพื้นที่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความตระหนักรู้ของชุมชนในการจัดการป่าชายเลน แขวงท่าข้าม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 2.69) โดยความตระหนักรู้ของชุมชนในการจัดการป่าชายเลนมีค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุด คือ หยุดตัดไม้ป่าชายเลนและร่วมมือกันปลูกต้นไม้ทดแทน รองลงมาคือ คนในชุมชนหากไม่ตระหนักในการอนุรักษ์ป่าชายเลน  จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน ขณะที่ ปัญหาในชุมชนที่พบคือ น้ำขุ่นข้น ในน้ำมีปริมาณสารพิษและการพังทลายของดิน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

2. การมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชายเลนของชุมชนแขวงท่าข้าม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.33) โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมามีส่วนร่วมในการดำเนิน, มีส่วนร่วมในการประเมินผล และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามลำดับ

3. การจัดการป่าชายเลน แขวงท่าข้าม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ป่าชายเลน มีค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุด รองลงมาคือสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนกับหน่วยงานของรัฐและภาคี, การป้องกันการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าชายเลน และ การสร้างระเบียบกฎเกณฑเพื่อควบคุมสมาชิกในชุมชนตามลำดับ

4. การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักรู้กับการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการจัด การป่าชายเลน แขวงท่าข้าม พบว่า ความตระหนักรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีส่วนร่วมในการดำเนินการ มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เชิงบวกเท่ากับ 0.457, 0.775, 0.779, 0.694 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกด้าน

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕