หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อภิชาติ กุลพงษ์วาณิชย์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
พุทธสันติวิธีการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขององค์กร (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : อภิชาติ กุลพงษ์วาณิชย์ ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บรรจบ บรรณรุจิ
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “พุทธสันติวิธีการมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขององค์กร” มีวัตถุประสงค์  เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา และสาเหตุ เกี่ยวกับปัญหาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในองค์กรธุรกิจ  เพื่อศึกษาหลักพุทธสันติวิธีการมีส่วนร่วมของบุคลากรเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในองค์กร เพื่อเสนอหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในองค์กรธุรกิจโดยพุทธสันติวิธีการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๘ คน/รูป การสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณาวุติ ๑๑ ท่าน

เสียงสะท้อนจากชุมชนมองว่า โรงงานทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเรื้อรัง โรงงานทำผิดกฎหมายอุตสาหกรรม ถืออภิสิทธิ์เหนือชุมชน ในขณะที่โรงงานมองว่าตนเองสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนมากกว่าผลเสีย และมองว่าชาวบ้านเรียกร้องมากเกินไป และต้องการเงินชดเชย เสียงสะท้อนจากหน่วยงานภาครัฐ และเสียงสะท้อนจากภาครัฐ มองว่าโรงงานไม่สามารถควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ทั้งหมด การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมักผ่านหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง ทำให้บางปัญหาเล็กน้อยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วจนสะสมกลายเป็นความขัดแย้ง เพราะขาดการประชุมร่วมกันทั้งสามฝ่าย ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้เกิด “อคติ” ของชุมชนที่มีต่อโรงงาน ปัญหาไม่ได้รบการแก้ไขอย่างรวดเร็ว และเหมาะสม จึงกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างโรงงานกับชุมชน นำไปสู่การร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่มีอำนาจมากขึ้นตามลำดับ เกิดผลเชิงลบต่อบริษัทเถ้าแก่น้อยฯ ในระยะยาว หลักพุทธสันติวิธีที่นำมาใช้ในการสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือ สาราณียธรรม ๖ โดยมีกระบวนการสานเสวนาเป็นเครื่องมือในการเสริมให้ระบบการบำรุงรักษาทวีผลแบบมีส่วนร่วม (TPM) สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบสันตินวัตกรรมการมีส่วนร่วมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขององค์กร ควรมีกลไก ๒ ประการคือ “เชิงรุก” และ “เชิงรับ” โดยเชิงรับในส่วนขององค์กร คือ ต้องมีจิตสำนึกในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการเข้าไปเยียวยาแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง และกำหนดนโยบายให้กับหน่วยงานในองค์กร ประกอบด้วยการออกพื้นที่สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนร่วมกับแก้ไขปัญหาด้วยระบบเทคโนโลยีทันสมัย ที่ชุมชนมีส่วนร่วมกับองค์กร ในเชิงรุก คือ มีมาตรการป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน กล่าวคือ การร่วมกำหนดธรรมนูญอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่มาจากข้อตกลงร่วมกันของโรงงานกับชุมชน และมีหน่วยงานภาครัฐมาร่วมรับทราบเพื่อช่วยควบคุมและกำกับ การทำงานร่วมกัน ๓ ขา ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยขจัดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน โดยสันติวิธี  แก้ปัญหาน้ำเสียควบคู่กันทั้ง “ภายใน” และ “ภายนอก” ของโรงงาน และ สร้างโอกาสให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน ร่วมประชุม รับฟัง เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด  เคารพธรรมนูญ (กติกา) ที่ถูกตั้งขึ้นมาร่วมกัน ปลูกฝังปรับจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม การเจรจา โดยปราศจากความรุนแรง

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕