หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศรีลัดดา อุทยารัตน์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
วิกฤตสื่อในสังคมไทย: ศึกษาและพัฒนารูปแบบการรายงานข่าวสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ศรีลัดดา อุทยารัตน์ ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ)
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑ เมษายน ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ข่าวสารในสภาพปัจจุบันและปัญหาการรายงานข่าวของสื่อ ๒) เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการรายงานข่าวสันติภาพตามหลักพุทธสันติวิธี และ ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการรายงานข่าวสันติภาพโดยพุทธสันติวิธีโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้ง ชั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ (Content Analysis)โดยใช้ตารางลงรหัสสำหรับการวิเคราะห์เนื้อหา(Coding Sheet)  การนำเสนอข่าวออนไลน์และข่าวโทรทัศน์ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ๒ ชื่อฉบับได้แก่ ไทยรัฐออนไลน์ และมติชนออนไลน์ ข่าวโทรทัศน์ได้แก่ ไทยรัฐทีวี และไทยพีบีเอส โดยเลือกศึกษากรณีการรายงานข่าวทีมฟุตบอลหมูป่าอคาเดมีติดถ้ำหลวง จ.เชียงราย ใน ๒ ช่วงเวลา คือระยะที่ ๑ นำเสนอข่าวเด็กหายและระยะที่ ๒ พบเด็กและช่วยเหลือออกจากถ้ำอย่างปลอดภัยครบทุกคน  ทั้งนี้มีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)นักสื่อสารมวลชน ในระดับบริหารได้แก่บรรณาธิการ สื่อมวลชนอาวุโส หัวหน้าข่าว  นักข่าวภาคสนาม  และสื่อมวลชนที่สังกัดองค์กรกลางที่มีหน้าที่กำกับดูแลสื่อ ผู้รับสาร  ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา สื่อสารมวลชน และสันติวิธี จำนวนทั้งสิ้น ๓๐ รูป/คน ทั้งนี้มีการการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๖ คนเพื่อรับรองรูปแบบการรายงานข่าวสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี และนำเสนอผลวิจัยเชิงพรรณนา

     ผลการวิจัยพบว่า

    ๑) สถานการณ์ข่าวสารในภาพปัจจุบันและปัญหาการรายงานของสื่อเกิดDigital Disruption เสมือนโดนคลื่นเทคโนโลยีถล่ม ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายทุน  การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ ตัวสื่อมวลชน และจริยธรรมสื่อ ๒) การรายงานข่าวสันติภาพเกิดขึ้นจากการคำนึงถึงประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ ที่ไม่ปรารถนาให้เกิดความรุนแรงหรือสนับสนุนการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สอดคล้องกับหลักพุทธสันติวิธี เพื่อการดำเนินวิถีชีวิตที่มีความสุขและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติท่ามกลางความแตกต่าง หลากหลาย  แต่ยังไม่สามารถนำพาผู้อ่านหรือผู้ที่ทำหน้าที่รายงานข่าว ไปสู่จุดหมายในชีวิต คือ ความสุข สันติ จึงต้องนำหลักธรรมคือกาลามสูตรและอริยสัจสี่มาเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จในกระบวนการทำงาน ประกอบกับหลักพรหมวิหารสี่ ปธาน ๔ และอคติ ๔ เท่ากับหยิบยื่นการศึกษาทางปัญญาและพัฒนาทั้งตัวผู้ส่งสารและผู้รับสาร นอกจากนี้ ยังสามารถเป็นเครื่องมือที่ทำให้สถานการณ์วิกฤตสื่อผ่านพ้นไปได้ด้วยปัญญาคือการให้ความรู้และข้อเท็จจริงแก่สังคมดังเช่นการรายงานข่าวทีมฟุตบอลหมูป่าอคาเดมีติดถ้ำหลวง  ๓) หลักพุทธสันติวิธีที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการรายงานข่าวนั้นมีหลักการ วิธีการ และกระบวนการที่สำคัญคือ WP-3F with M คือการมีสติ((Mindfulness) เป็นฐาน ประกอบด้วยการนำเสนอข้อเท็จจริง (Fact) ทันเหตุการณ์ (Fast) และก่อให้เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธา(Faith)ในตัวสื่อเอง ซึ่งจะนำพาสังคมให้ก่อเกิดปัญญา(Wisdom) ด้วยคุณลักษณะ MIM ของนักข่าวยุคหลอมรวมสื่อ ได้แก่ Mindset ,Inner Peace  และ MultiI-Skill เพื่อการพัฒนาสันติสุขอย่างยั่งยืน

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕