หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมถวิล ปภาโส (อิหนิม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักสัปปายะ 7 (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมถวิล ปภาโส (อิหนิม) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิน งามประโคน
  พระครูวิรุฬห์สุตคุณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักสัปปายะ ๗ ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักสัปปายะ ๗ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักสัปปายะ ๗รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน ๔๐๐ คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

 

              ผลการวิจัย

              การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักสัปปายะ ๗ พบว่า ดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก

              ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักสัปปายะ ๗ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ปฎิบัติธรรมที่มีเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และจำนวนครั้งที่ปฏิบัติ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักสัปปายะ ๗ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

              ข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักสัปปายะ ๗ จากการสัมภาษณ์ สรุปได้ว่า ๑) ด้านอาวาสสัปปายะ ที่อยู่เหมาะสม ควรเป็นที่สบาย สงบ ปราศจากผู้คนสัญจรไปมา ปลอดภัยต่อความเป็นอยู่ สถานที่นั่นมีที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม ๒) ด้านโคจรสัปปายะ การเดินทางเหมาะสม ต้องมีทางโคจร หรือ ทางเดิน ถนนหนทางไปมาได้สะดวก  ๓) ด้านภัสสสัปปายะ การพูดคุยเหมาะสม ควรมีการสนทนา พูดคุยกันแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติ ได้ฟังสิ่งที่จะทำให้จิตใจเกิดสัทธา วิริยะ อุสาหะ ความสงบระงับในการที่จะทำความเพียร ๔) ด้านปุคคล       สัปปายะ บุคคลเหมาะสม ควรมีบุคคลที่อยู่ร่วมกัน บุคคลที่ติดต่อคบหา ควรเป็นผู้ตั้งมั่นในศีลธรรม มีความสันโดษ มักน้อย ชักจูงแนะนำไปในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเพียร ความสงบ ๕) ด้านโภชนสัปปายะ อาหารเหมาะสม ควรเป็นอาหารที่สบายต่อความเป็นอยู่ในอัตภาพแห่งตน ๖) ด้านอุตุ    สัปปายะ อากาศเหมาะสม ควรมีอากาศที่เหมาะสม อากาศตามฤดูกาล ความร้อน ความเย็น ของอากาศ ๗) ด้านอิริยาปถสัปปายะ อิริยาบถเหมาะสม ควรมีอิริยาบถทั้ง ๔ หรือ การเคลื่อนไหว  ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถเหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕