การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง
พลังสุขภาพจิต ความฉลาดทางอารมณ์ และสุขภาวะทางจิตวิญญาณของพระสงฆ์ในกลุ่มพระอาสา
คิลานธรรม ๒) ศึกษาเปรียบเทียบสุขภาวะทางจิตวิญญาณของพระสงฆ์ในกลุ่มพระอาสาคิลานธรรมที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ๓) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง พลังสุขภาพจิตความฉลาดทางอารมณ์ ต่อสุขภาวะทางจิตวิญญาณของพระสงฆ์ในกลุ่มพระอาสาคิลานธรรม
กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มประชากรซึ่งเป็นพระสงฆ์ในกลุ่มพระอาสาคิลานธรรม ที่มีอยู่ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน ๘๐ รูป ซึ่งกำหนดจำนวนได้จากสูตรคำนวนประชาการของ Yamane เครื่องมื่อที่ใช้เป็นแบบสอบถามมี ๕ ส่วนได้แก่ ๑) ปัจจัยส่วนบุคคล ๒) การเห็นคุณค่า
ในตนเอง ๓) พลังสุขภาพจิต ๔) ความฉลาดทางอารมณ์ ๕) สุขภาวะทางจิตวิญญาณ สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ชนิดทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่า ๑) พระสงฆ์ในกลุ่มพระอาสาคิลานธรรมมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง พลังสุขภาพจิต ความฉลาดทางอารมณ์ และสุขภาวะทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับสูง ๒) พระสงฆ์ในกลุ่มพระอาสาคิลานธรรมที่มีปัจจัยส่วนตัวเช่น อายุ วุฒิการศึกษา จำนวนครั้งในการเข้าร่วมอบรมพัฒนาบุคลากรกับกลุ่มพระอาสาคิลานธรรม และระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมเยียวยาผู้ป่วยแตกต่างกัน มีสุขภาวะทางจิตวิญญาณไม่แตกต่างกัน แต่พระสงฆ์ในกลุ่มพระอาสาคิลานธรรม
ที่มีอายุพรรษาต่างกัน มีสุขภาวะทางจิตวิญญาณแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑
๓) ผลการวิจัยยังพบว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง พลังสุขภาพจิต และความฉลาดทางอารมณ์ของพระสงฆ์ในกลุ่มพระอาสาคิลานธรรม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะทางจิตวิญญาณของพระสงฆ์ในกลุ่มพระอาสาคิลานธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๐๑
Download |