หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวเกตุมณี พรมเถื่อน
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
กระบวนการสร้างความเข้าใจเรื่องความเจ็บป่วยตามแนวพุทธศาสนาเถรวาท (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวเกตุมณี พรมเถื่อน ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี, ดร.
  ศ. (พิเศษ) ดร.กาญจนา เงารังษี
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

งานวิจัย  เรื่อง กระบวนการสร้างความเข้าใจเรื่องความเจ็บป่วยตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ(๑)เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความเจ็บป่วยในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างความเข้าใจเรื่องความเจ็บป่วยตามแนวพระพุทธศาสนา (๓) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างความเข้าใจเรื่องความเจ็บป่วยตามแนวพระพุทธศาสนากับสังคมไทยปัจจุบัน

ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎก และเอกสารทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลโดยลำดับ

ผลการวิจัยพบว่า

        พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงกระบวนการเรื่องความเจ็บป่วยว่าเป็นกระบวนการทางธรรมชาติซึ่งทุกคนและสรรพสัตว์ต่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ได้แก่

๑.   แนวคิด  เรื่อง  ความหมายของความเจ็บป่วยตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒ ความหมาย คือ  โรคทางกาย  (กายิกโรโค)และ โรคทางใจ (เจตสิกโรโค) และยังบอกความหมายของความเจ็บป่วย รวมถึงวิธีการรักษาความเจ็บป่วย หลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ในการรักษา  บรรเทาอาการได้

 

๒.      แนวคิด  เรื่อง  ความเจ็บป่วยตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น สอนให้ทำทำความเข้าใจ  เรียนรู้  ถึงกระบวนการของความเจ็บป่วยด้วยการดูแลรักษา วิธีการต่าง ๆ ในการรักษาความเจ็บป่วย

๓.      แนวคิด  เรื่อง  ความเจ็บป่วยตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น มีแนวคิดเพื่อการประยุกต์ใช้กระบวนการในการสร้างความเข้าใจเรื่องความเจ็บป่วยตามแนวพระพุทธศาสนา  ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

                ดังนั้น  จากการศึกษาเรื่องความเจ็บป่วยในทางพระพุทธศาสนานั้น  สามารถสรุปได้ว่าในทางพระพุทธศาสนา มีวิธีการในการแก้ปัญหาด้วยการเจริญสติปัญญา โดยใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในการรู้เท่าทันความเจ็บป่วย  การแก้ปัญหาเมื่อเกิดอาการ  หรือการบรรเทาทุกข์จากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น  ด้วยการแก้ไขปัญหาด้วยสติและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรื่องความเจ็บป่วยกับสังคมไทยในปัจจุบันได้

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕