หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูใบฎีกาถาวร สุรปญฺโญ (เสนสอน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
การศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ : ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทของพระนิภากรโสภณ (ไกร ฐานิสฺสโร) วัดหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูใบฎีกาถาวร สุรปญฺโญ (เสนสอน) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี สิริธโร
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร
  ดร.อธิเทพ ผาทา
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

การศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้  :  ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทของพระนิภากรโสภณ (ไกร ฐานิสฺสโร) วัดหนองกลับ  อำเภอหนองบัว  จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ  คือ  ๑)  เพื่อศึกษาแนวคิดและบทบาทการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท   ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดและบทบาทการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของพระนิภากรโสภณ (ไกร ฐานิสฺสโร) ๓) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของพระนิภากรโสภณ  (ไกร ฐานิสฺสโร)

             ผลการวิจัยพบว่า  แนวคิดและบทบาทการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น ดำเนินการอนุรักษ์ใน ๒ ลักษณะ คือ การอนุรักษ์โดยตรง ได้แก่ การไม่ทำลายป่าไม้ทุกประเภทซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามพรากของเขียวหรือต้นไม้ เป็นต้น และการอนุรักษ์โดยอ้อม ได้การอยู่ในป่าแบบพึงพาอาศัย โดยอาศัยป่าเป็นสถานที่สัปปายะในการปฏิบัติธรรม 

แนวคิดและบทบาทการอนุรักษ์ป่าไม้ของพระนิภากรโสภณ (ไกร ฐานิสฺสโร) พบว่า เป็นกูศโลบายในการเสริมสร้างความดี  มุ่งการพัฒนาคุณภาพของชีวิต พร้อมกับการให้คำปรึกษาการให้การศึกษาแก่ชุมชน รวมทั้งการส่งเสริมภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการอนุรักษ์ป่าไม้  โดยเป็นปลูกจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมป่าไม้ให้กับชุมชน อันจะเป็นประโยชน์ต่อวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านและชุมชน บทบาทการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของพระนิภากรโสภณนั้น ได้เผชิญกับอุปสรรคนานัปการ มีปัญหาและความขัดแย้งในการทำงาน  แต่ด้วยการลงมือปฏิบัติให้เห็นคุณค่า ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ชาวบ้านและชุมชนได้เข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของท่าน

              ส่วนผลสัมฤทธิ์ของการอนุรักษ์ทรัพยากร ป่าไม้นั้น พบว่า  มีจำนวนป่าไม้ที่เพิ่มมากขึ้นและชาวบ้านยอมและให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าไม้เป็นอย่างดี จนทำให้ท่านได้รับรางวัลพระสังฆานุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปี  ๒๕๓๔  จากสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕