หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูนันทเจติยาภิบาล (สักขี ไชยา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๙ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมและคุณค่าของพิธีเทศนาคัมภีร์ธรรมพญามัจฉาปลาช่อนในล้านนา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูนันทเจติยาภิบาล (สักขี ไชยา) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุนทรสังฆพินิต
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

 

การศึกษาเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมและคุณค่าของพิธีเทศนาคัมภีร์ธรรมพญามัจฉาปลาช่อนในล้านนา มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติและพิธีกรรมการเทศนาคัมภีร์ธรรมมัจฉาพญาปลาช่อนในล้านนา (๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีเทศนาคัมภีร์ธรรมมัจฉาพญาปลาช่อนในล้านนา และ (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของพิธีเทศนาคัมภีร์ธรรมมัจฉาพญาปลาช่อนในล้านนา  โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) พบข้อสรุปดังนี้

คติความเชื่อพิธีขอฝนพบได้ในหลายวัฒนธรรมของชนชาติไทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมที่ใช้น้ำฝนเพื่อการเกษตรกรรมเป็นหลัก สามารถแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ พิธีกรรมขอฝนแบบดั้งเดิมและพิธีขอฝนแบบผสมผสานกับคติพุทธ ซึ่งคติความเชื่อพิธีขอฝนของล้านนามีการผสมผสานกันระหว่างความเชื่อดั้งเดิมและความเชื่อในพระพุทธศาสนา เช่นกรณีคัมภีร์ธรรมมัจฉาพญาปลาช่อน ซึ่งมีที่มาจากพระคาถาในมัจฉชาดก โดยพิธีกรรมนี้จะเป็นการจำลองสถานที่เหมือนท้องเรื่องในชาดก  มีจัดทำเครื่องสักการบูชา และพิธีเทศนาธรรม มีการจัดขึ้นเฉพาะในปีที่ฝนแล้งเท่านั้น

หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีเทศนาคัมภีร์ธรรมมัจฉาพญาปลาช่อนในล้านนา มี ๗ หลักธรรม ได้แก่ พระมหากรุณาคุณและพระเมตตาธิคุณของพระพุทธเจ้า สัจจบารมี ฆราวาสธรรม ๔  เบญจศีล ๕ เบญจธรรม ๕ อิทธิบาท ๔ สังคหวัตถุ ๔ และสาราณียธรรม ๖


คุณค่าของพิธีเทศนาคัมภีร์ธรรมมัจฉาพญาปลาช่อนในล้านนา เป็นเหตุให้เกิดคุณค่าใน ๕ ด้าน คือ คุณค่าด้านความกตัญญูกตเวทีต่อธรรมชาติ คุณค่าด้านการพัฒนาสังคม คุณค่าด้านความสามัคคีของชุมชน คุณค่าด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และคุณค่าด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี

 Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕